สงวนลิขสิทธิ์ ๒๕๕๑-๒๕๖๐ โดย ศูนย์ธรรมชาติศึกษาไทย แก้ไขล่าสุด มกราคม ๒๕๖๐

@ บันทึกกิจกรรม
@ บันทึกธรรมชาติและการเดินทาง
@ ห้องสมุดธรรมชาติวิทยา
@ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ
Education Activities 2017

@ Wildlife Education #1
@ Young Naturalist
@ Amateur Nature Explorer
@ Nature Interpretation for Trainer
@ IPM in permaculture
@ Science Talent Youth Camp

ห้องเรียนธรรมชาติวิทยา
หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา บทความ เอกสารเผยแพร่ ผลงานของเรา โครงการวิจัย อาสาสมัคร งานบริการ
เรียนรู้ธรรมชาติเพื่อชีวิต
หน่วยปฏิบัติการธรรมชาติวิทยา
* หน่วยวิจัยป่าชุมชนดงใหญ่
* หน่วยปฏิบัติการภาคตะวันออก
* หน่วยปฏิบัติการภาคใต้
* หน่วยปฏิบัติการถ้ำและเขาหินปูน
* หน่วยปฏิบัติการภาคเหนือ
ห้องเรียนพันธุ์พืช
ธรรมชาตินานาสัตว์
ห้องเรียนนิเวศวิทยา
ห้องเรียนชุมชนท้องถิ่น
ที่ติดต่อประสานงาน
กลุ่มรักธรรมชาติบ้านกองดิน
๑๒/๑ หมู่ ๒ บ้านกองดิน ต. กองดิน อ. แกลง จ.ระยอง ๒๒๑๖๐
พื้นที่เป้าหมาย
ระบบนิเวศเกษตร
ระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง
ระบบนิเวศเขาหินปูน
ป่าชุมชน

พื้นที่ภาคตะวันออกมีธรรมชาติหลากหลาย เช่น ป่าไม้ ทะเล มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างกว้างขวาง เช่น สวนผลไม้ ยางพารา นาข้าว วนเกษตร ประมง เป็นต้น ลักษณะดังกล่าวจึงเหมาะอย่างยิ่งในการศึกษาธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ เพื่อนำไปพัฒนาชุมชน สงคมและประเทศชาติต่อไป จึงมีความเห็นว่าน่าจะมีการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการธรรมชาติวิทยาภาคตะวันออกขึ้น ดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและพัฒนาความรู้ด้านธรรมชาติวิทยา นำไปสู่การให้ความรู้กับชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยมุ่งเน้น ๓ ประเด็น คือ ๑. ทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน เช่น ป่าชุมชน ทะเลชุมชน ๒. ระบบนิเวศเกษตร เช่น สวนผลไม้ สวนยางพารา วนเกษตร เป็นต้น ๓. การพัฒนาองค์ความรู้ด้านธรรมชาติวิทยาสู่เยาวชนและชุมชนในพื้นที่
หน่วยปฏิบัติการธรรมชาติวิทยาภาคตะวันออก
ห้องเรียนคนทำค่าย

หนึ่งปีจากกองดินสู่พัฒนาความรู้ด้านธรรมชาติวิทยาในภาคตะวันออก
กว่าจะก่อร่างสร้างตัวเป็นหน่วยปฏิบัติการธรรมชาติวิทยาตะวันออกก็ผ่านงานที่ท้าทายด้านงบประมาณ ทั้งนี้เป็นเพราะต้องค้นหาความร่วมมือจากชุมชนและอาสาสมัครที่มีจิตสาธารณะ เพราะการทำงานของหน่วยไม่มีงบประมาณโดยตรงในการดำเนินงาน สิ่งสำคัญเราไม่ได้เอางบประมาณเป็นตัวตั้งในการทำงานแต่เราเอาความต้องการของคนในพื้นที่เป็นตัวตั้ง เมื่อมองเห็นงานที่จะทำก็ค่อย ๆ หางบประมาณและอาสาสมัครมาร่วมกันทำงาน ในที่สุดก็กำเนิดกลุ่มกิจกรรมนาม กลุ่มรักธรรมชาติบ้านกองดิน เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๕๑ โดยการนำของคุณครูภานลิน กลิ่นวงศ์ และมีเยาวชน ปราชญ์ชุมชนบ้านกองดิน หมู่ที่ ๒ เป็นแนวร่วมสำคัญ ทำให้เกิดกิจกรรมค่ายเยาวชน การวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพร่วมกับชุมชน ในที่สุดก็ได้ผลงานเป็นรูปธรรมนำไปสู่การขยายผลของหน่วยงานในตำบล โดยเฉพาะเทศบาลกองดิน ได้เล็งเห็นความสำคัญของเยาวชนและการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

ผลงานในรอบปี ๒๕๕๑-๒๕๕๒
โครงการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพและการจัดการโดยชุมชนอย่างมีส่วนร่วม

เป็นโครงการแรกเริ่มโดยศูนย์ธรรมชาติศึกษาประเทศไทย ที่เข้ามาคลุกคลีกับชุมชน ตลอดระยะเวลา ๑ ปีทำให้ได้ข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพในชุมชน จัดแบ่งระบบนิเวศทางธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ของชุมชน ที่สามารถนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้ได้จริง และได้นำผลงานเสนอในการประชุมวิชาการด้านการวิจัยพรรณพืชป่าระดับชาติครั้งที่ ๑ ณ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน เมื่อวันที่ ๑๖-๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๑ ในขณะนี้กำลังจัดทำหนังสือความหลากหลายชีวภาพในบ้านกองดิน
อ่านรายละเอียด

โครงการสืบทอดภูมิปัญญา สืบชะตาคลองกองดิน
เป็นโครงการที่ประสบผลสำเร็จอย่างงดงาม
มีเยาวชน ครู ปราชญ์ชุมชน เข้าร่วมโครงการสามารถถอดองค์ความรู้กลายเป็นกิจกรรมสู่เยาวชนในการอนุรักษ์คลองกองดิน สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ธรรมชาติ ป่าชายเลนของชุมชนได้

พื้นที่และโครงการของหน่วยปฏิบัติการธรรมชาติวิทยา ภาคตะวันออก
ภาพจาก google earth
โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพและการใช้ ประโยชน์ของชุมชนรอบป่าเขายายดา จ. ระยอง เป็นโครงการดำเนินงานในปี ๒๕๕๓-๕๕ รวมระยะเวลา ๒ ปี โดยมีลักษณะโครงการวิจัยแบบชุมชนมีส่วนร่วม (PAR action research)
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
กรณีศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพและ ภูมิปัญาของชุมชนบ้านกองดินจ. ระยอง เพื่อพัฒนาหลักสูตรสิ่งแวดล้อมศึกษา และแผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยชุมชน
ดำเนินการปี พ.ศ. ๒๔๔๓-๕๕ เป็นระยะเวลา ๒ ปี
โครงการวิจัยเรื่อง การสำรวจสัตว์ไฟลัมมอลลัสกาในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวัน ออกของไทย โดยมีระยะเวลาดำเนินการ ๑ ปี งบประมาณปี พ.ศ.๒๕๕๓
โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพใน ระบบนิเวศเกษตรภาคตะวันออก มีระยะเวลาดำเนินงาน ๕ ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๓-๒๕๕๘ โดยมีพื้นที่เป้าหมายในจังหวัดระยอง จันทบุรีและตราด โดยมีพื้นที่ศึกษาเป็น ๓ ระบบ คือ สวนผลไม้ ทุ่งนา สวนยางพารา และสวนวนเกษตร
เห็ดและราขนาดใหญ่
-