สงวนลิขสิทธิ์ ๒๕๕๑-๒๕๖๐ โดย ศูนย์ธรรมชาติศึกษาประเทศไทย แก้ไขล่าสุด มีนาคม ๒๕๖๐

@ บันทึกกิจกรรม
@ บันทึกธรรมชาติและการเดินทาง
@ ห้องสมุดธรรมชาติวิทยา
@ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ
บันทึกกิจกรรมค่ายเยาวชนย้อนหลัง
@ ค่ายโรงเรียนพิชญศึกษา
@ ค่ายวิทย์ ฯ โรงเรียนจิตรลดา
@ ค่ายเยาวชนบ้านกองดิน
@ ค่ายวิทย์ ฯ โรงเรียนวัดไผ่ตัน

@ ค่ายการเคหะแห่งชาติ สมุทรสาคร
@ ค่ายอนุรักษ์สัตว์ป่า โรงงานยาสูบ
@ ค่ายสืบทอดภูมิปัญญา ฯ
@ ค่ายล้านแสงหิ่งห้อย ฯ
@ ค่ายเขาใหญ่ การเคหะแห่งชาติ
@ ค่ายวิทย์ รร.มัธยมมีชัยพัฒนา
@ ค่ายวิทย์ รร. เทศบาลวัดดอนไก่ดี
@ ค่ายรักษ์น้ำ รร. วัดสุขไพรวัน
@ ค่ายวิทย์ รร. เบญจมราชรังสฤษดิ์
@ ค่ายเยาวชน สิ่งแวดล้อมเพื่อชีวิต
Education Activities 2017

@ Wildlife Education #1
@ Young Naturalist
@ Amateur Nature Explorer
@ Nature Interpretation for Trainer
@ IPM in permaculture
@ Science Talent Youth Camp

ห้องเรียนธรรมชาติวิทยา
หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา บทความ เอกสารเผยแพรผลงานของเรา โครงการวิจัย อาสาสมัคร งานบริการ
เรียนรู้ธรรมชาติเพื่อชีวิต
หน่วยปฏิบัติการธรรมชาติวิทยา
* หน่วยวิจัยป่าชุมชนดงใหญ่
* หน่วยปฏิบัติการภาคตะวันออก
* หน่วยปฏิบัติการภาคใต้
* หน่วยปฏิบัติการถ้ำและเขาหินปูน
* หน่วยปฏิบัติการภาคเหนือ
ห้องเรียนพันธุ์พืช
ธรรมชาตินานาสัตว์
ห้องเรียนนิเวศวิทยา
ห้องเรียนชุมชนท้องถิ่น
ห้องสมุดธรรมชาติวิทยา...เพื่อการแบ่งปัน
แม้ความรู้จะไม่จำกัดเพียงแค่ในตำราแต่ตำราก็เป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญแหล่งหนึ่ง โดยเฉพาะความรู้เฉพาะทาง เฉพาะเรื่อง ซึ่งก็มีอยู่กับเฉพาะคนที่สนใจเท่านั้น ศูนย์ธรรมชาติศึกษาประเทศไทยเพิ่งจะถือกำเนิดได้ไม่นาน หนังสือก็ยังมีไม่มากแต่มีผู้สนใจมากมายหลายด้าน ดังนั้นจึงอยากจะเชิญชวนเพื่อน ๆ ที่สนใจธรรมชาติในด้านต่าง ๆ แลกเปลี่ยนความรู้กัน โดยการเสวนา ประชุม หรือร่วมเดินทาง เพื่อรวบรวมความรู้ด้วยกัน และนำไปสู่การแลกเปลี่ยนกันยืมหนังสือของแต่ละคนที่สนใจแต่ละเรื่อง เพื่อจะทำให้ความรู้ที่มีอยู่กระจายสู่คนอื่น ๆ โดยเฉพาะคนในชนบท ดังนั้นห้องสมุดของเราจึงไม่ใช่แค่ห้องหนังสือ แต่เป็นห้องเรียนที่รวบรวมความรู้ด้านธรรมชาติและเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันด้วย
ห้องเรียนคนทำค่าย


สืบเนื่องจากการประชุมประจำปีของสถานเสาวภา สภากาชาดไทย ประจำปี ๒๕๕๓ ที่โรงแรมนานรายณ์ เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน ปีที่แล้ว ผมได้รับเชิญเป็นผู้บรรยายและร่วมเขียนบทความชื่อ แมงมุมพิษในประเทศไทย เพื่อพิมพ์ในหนังสือชื่อ พิษจากสัตว์และพืช โดยมี บรรณาธิการสามท่านคือ นพ.สุชัย สุเทพารักษ์ คุณนฤมล พักมณี และ นพ.วิศิษฎ์ ลิตปรีชา หนังสือเล่มนี้รวบรวมบทความเรื่องพิษจากพืชและสัตว์ไว้อย่างสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่ผมเคยอ่าน และเขียนโดยผู้เชี่ยวชาญในแต่ละเรื่อง เช่น พิษจากงู แมงมุม แมลง พืช เห็ด แมงกระพรุน รวมทั้งยังได้รวบรวมแนวทางปฐมพยาบาลและการรักษาไว้อย่างสมบูรณ์
หนังสือแนะนำประจำเดือนมกราคม ๒๕๕๓
เล่าเรื่องจากหนังสือ : พิษจากสัตว์และพืช
หนังสือ พิษจากสัตว์และพืช โดย สถานเสาวภา สภากาชาดไทย บรรณาธิการโดย สุชัย สุเทพารักษ์ นฤมล พักมณี และวิศิษฎ์ ลิตปรีชา ISBN 978-616-7287-04-1 รวมบทความจากผู้เชี่ยวชาญ ด้านสัตว์และพืชแต่ละกลุ่ม เช่น งู แมลง แมงมุม พืช ปลาปักเป้า แมงกระพรุน เป็นต้น
หนังสือ proceeding รวบรวมบทความที่นำเสนอ ในการประชุมนานาชาติ International Conference on Society and University (ICSU) 2009: Roles for Community Strengthening August 5-6, 2009 จัดโดยมหาวิทยาลัยราชภัฎรำ ไพพรรณี ISBN 978-974-381-275-0
หนังสือ The Molluscs of the Southern Gulf of Thailand โดย C. Swennen, R.G. Moolenbeek, N. Ruttanadakul, H. Hobbelink, H.Dekker and S. Hajisamae รวบรวมหอยจากทะเลภาคใต้ โดยเฉพาะอ่าวปัตตานี จัดพิมพ์โดย โครงการ BRT ISBN : 947-7360-61-6
หนังสือ มรดกคลองกองดิน ทรัพยากรธรรมชาติและการใช้ ประโยชน์อย่างยั่งยืน โดย ประสิทธิ์ วงษ์พรม และ
ภานลิน กลิ่นวงศ์ จัดพิมพ์โดย ศูนย์ธรรมชาติศึกษาประเทศไทย ปี พ.ศ.๒๕๕๒ ISBN : 978-974-618-354-3
พิษจากสัตว์เป็นปัญหาทางการแพทย์ประการ หนึ่งที่สำคัญของโลก โดยเฉพาะในเขตร้อน มีคนราว ๕ ล้านคนต่อปีได้รับพิษจากงู และ หนึ่งแสนคนเสียชีวิตจากแมลง แมงป่อง พิษจากสัตว์กลุ่มสัตว์ทะเล เช่น ฟองน้ำ แมงกระพรุน ดอกไม้ทะเล ดาวทะเล ปลาปักเป้า พิษจากสัตว์ประกอบด้วย polypeptide, enzyme และพิษที่เกิดจากแบคทีเรีย เช่น tetradotoxin เป็นต้น การเข้าทำลายต่อมนุษย์เรามีผลต่อระบบประสาท ระบบเลือด ซึ่งมีวิธีการดำเนินโรคแตกต่างกันไปตามชนิดของ พิษที่เข้าสู่ร่างกาย
การประชุมมีความน่าสนใจอย่างมากที่มีการนำเรื่องพิษจากเห็ด ซึ่งคนไทยคุ้นเคยและมีหลายกรณีที่เสียชีวิตจากเห็ด นอกจากนี้ยังมีพิษจากพืชบางชนิด ในการประชุมได้นำเสนอเรื่องสบู่ดำด้วย น่าเสียดายที่ไม่มีบทความเรื่องพิษจากเห็ดในหนังสือเล่มนี้ ซึ่งหากมีการเผยแพร่จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับประชาชนทั่วไป คงต้องติดตามต่อไปครับ
ที่มาภาพ : หนังสือพิษจากสัตว์และพืช ; สถานเสาวภา
-