สงวนลิขสิทธิ์
๒๕๕๑-๒๕๖๐ โดย ศูนย์ธรรมชาติศึกษาไทย แก้ไขล่าสุด มกราคม ๒๕๖๐
เรียนรู้ธรรมชาติเพื่อชีวิต
ห้องเรียนพันธุ์พืช
ธรรมชาตินานาสัตว์
ห้องเรียนนิเวศวิทยา
ห้องเรียนชุมชนท้องถิ่น
เกร็ดความรู้ในวิถีท้องถิ่นไทย
@ ป่าชุมชนในประเทศไทย
@ ชีววิทยาพื้นบ้าน
@ สิทธิชุมชนท้องถิ่น
@ ทะเลชุมชน
@ ป่าบุ่ง ป่าทาม
@ วิถีชนเผ่าในประเทศไทย
@ การพัฒนาที่ยั่งยืน
@ เห็ดป่าอาหารชุมชน
@ แมลงกินได้ในประเทศไทย
@ สัตว์พยากรณ์
@ เห็ดป่าเป็นยารักษาโรค
@ สมุนไพรในป่า
@ ระเหมืองฝายกับการจัดการน้ำ
@ เครื่องมือจับสัตว์ชุมชน
@ ประเพณีบุญท่าน้ำไหล
@ ประเพณีบุญบั้งไฟ
@ ตบประทายไหว้ปู่ตา
ห้องเรียนคนทำค่าย
เป็นที่ทราบกันดีว่าบ้านกองดินมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมาตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์ ชุมชนมีความสมัคสมานสามัครคี มีประเพณีและวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ลักษณะที่ตั้งชุมชนอยู่ในภูมิประเทศที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติอันหลากหลาย ประกอบด้วยลำคลองไหลผ่านเป็นคุ้งน้ำขนาดใหญ่ก่อกำเนิดเป็นป่าชายเลนปกคลุม ทำให้เหมาะสมต่อการประกอบอาชีพประมง นอกจากนี้ยังมีระบบนิเวศบกประกอบด้วยสวนผลไม้ พื้นที่ภูเขาหินปูน และพื้นที่ทำนาอีกด้วย ประเพณีบุญน้ำไหลเป็นประเพณีหนึ่งของชุมชนกองดินที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงลูกหลานในปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขอขมาแม่น้ำ ลำคลอง อุทิศบุญกุศลให้กับผู้ล่วงลับที่ไม่มีญาติและเป็นการขอพรจากสิ่งศักดิ์จากแม่น้ำให้มีความเจริญรุ่งเรืองอยู่เย็นเป็นสุข ประเพณีบุญท่าน้ำไหลสะท้อนถึงความสำคัญของแม่น้ำลำคลองในอดีตของชุมชนกองดิน และเป็นอีกประเพณีหนึ่งที่ทำให้ชุมชนกองดินมีความสามัคคีรักใคร่กลมเกลียวกัน นอกจากนั้นประเพณีนี้ยังให้เยาวชนมีส่วนร่วมในกิจกรรม ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญของชุมชนต่อไป
บุญท่าน้ำไหลคือหัวใจของการมีส่วนร่วมของชุมชน
เหลังจากที่คณะทำงานประชุมเพื่อแจงรายละเอียดของการจัดงานเสร็จ เป็นที่เรียบร้อย ซึ่งนัดกันจัดเตรียมพื้นที่กันวันที่ ๑๕ เมษายน ก่อนจะถึงวันนัดทุกคนก็แยกย้ายกันจัดหาสิ่งของ รางวัล อุปกรณ์ต่าง ๆ ในการจัดงานและการแข่งขันรายการต่าง ๆ ปีนี้เป็นปีแรกที่ริเริ่มให้มีการแข่งขันประกวดเรือ ประกวดกองทราย แข่งขันเรือหัวบอดท้ายใบ้ เรือเร็วสีฝีพาย พระอภัยส่งนางเงือก ว่ายน้ำ พายเรือกระทะ ทอยสะบ้า กิจกรรมที่เพิ่มขึ้นมาจากการทำบุญปกติแบบเดิม ๆ จึงทำให้คณะทำงานต้องทำงานหนักกันมากขึ้น แต่ทุกคนก็ยินดีเพราะเป็นการทำงานเพื่อชุมชน เพื่อลูกหลาน ส่วนเด็ก ๆ ตื่นเต้นและตั้งตารอให้ถึงเช้าวันที่ ๑๗ เมษายน พวกเขาจะทำเรือให้สวยที่สุด บ้างก็ทำเอง บ้างก็ให้พ่อแม่ทำให้ เด็กตัวเล็ก ๆ พ่อแม่ก็ทำให้ ภาพที่มองเห็นคือความอบอุ่นของครอบครัว บ่ายของวันที่สุกดิบหรือวันที่ ๑๖ เมษายน ชาวบ้าน เด็ก ๆ จะช่วยกันก่อเจดีย์ทราย ปีนี้ครึกครื้นมากขึ้นเพราะมีการประกวดก่อเจดีย์ทราย แต่ละครอบครัวช่วยกันก่อ ร่วมแรงกันทำบุญและยังมีรางวัลด้วย
บุญท่าน้ำไหล : สร้างเยาวชนและสืบสานเพื่อสิ่งแวดล้อมของชุมชนกองดิน จ.ระยอง
์์พระเอกดังจา พนม ยีรัม มาร่วมงานทำบุญกับชาวบ้านและเด็ก ๆ ชาวกองดิน วันที่ ๑๖-๑๗ เมษายน ๒๕๕๓
สิ่งสำคัญคือเห็นภาพทุกคนช่วยกัน พอตกเย็นก็มีพิธีสวดมนต์เย็นที่ศาลาท่าน้ำ หลังสวดมนต์ก็มีการละเล่นแข่งทอยสะบ้า เป็นที่สนุกสนาน เช้าวันที่ ๑๗ เมษายน เด็ก ๆ ตื่นมาตั้งแต่ไม่สว่าง พวกเขาจะนำเรือมาเข้าแถวกันเป็นระเบียบ ใครมาก่อนอยู่ด้านหน้า จากนั้นทุกคนที่มาร่วมงานจะทำบุญตักบาตรที่ศาลาท่าน้ำ จากนั้นจะมาตักบาตรที่เรือทุกลำ บางคนมีขนม ข้าว เงิน ผลไม้ ฯลฯ ที่คิดว่าจะทำบุญให้กับผู้ล่วงลับ ขอขมากับแม่น้ำ ลอยเคราะห์ลอยโศกไปกับน้ำ เด็ก ๆ เสมือนผู้สืบทอดวิถีลำคลองและสายน้ำเมื่อพระสวดยะถา (กรวดน้ำ) พวกเขาจะนำเรือไปลอยที่ท่าน้ำ ส่วนเงินทำบุญเขาจะเก็บไว้ต่อไป นี่เองที่เป็นเหตุผลที่เด็กรอให้ถึงวันนี้ในแต่ละปี
บุญท่าน้ำไหลมีความหมายแฝงด้วยกุโลบายและปรัชญา สะท้อนถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นของบรรพบุรุษ ที่ทั้งสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของคนทุกเพศทุกวัยในชุมชน สะท้อนถึงการให้ความสำคัญกับเด็ก ๆ ผู้ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการสืบทอดประเพณี ดูแลสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะวิถีชาวน้ำ สะท้อนให้เห็นความสำคัญของน้ำ้และป่าชายเลน
แม้ในปัจจุบันถนนสุขุมวิทจะมีอิทธิพลวิถีชีวิตของคนกองดิน ลำคลองถูกแทนด้วยถนน แต่หลายคนยังคงอาศัยคลอง ป่าชายเลนเป็นแหล่งอาหาร แหล่งพลังงาน และไม้ใช้สอย คลองยังสำคัญตราบที่เยาวชนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญ รักษามรดกแห่งคลองกองดินตลอดไป
ประสิทธิ์ วงษ์พรม: เขียน
เห็ดและราขนาดใหญ่
-