สงวนลิขสิทธิ์ ๒๕๕๑-๒๕๖๐ โดย ศูนย์ธรรมชาติศึกษาไทย แก้ไขล่าสุด มิถุนายน ๒๕๖๐

@ บันทึกกิจกรรม
@ บันทึกธรรมชาติและการเดินทาง
@ ห้องสมุดธรรมชาติวิทยา
@ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ
Education Activities 2017

@ Wildlife Education #1
@ Young Naturalist
@ Amateur Nature Explorer
@ Nature Interpretation for Trainer
@ IPM in permaculture
@ Science Talent Youth Camp

หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา บทความ เอกสารเผยแพร่ ผลงานของเรา โครงการวิจัย อาสาสมัคร งานบริการ
เรียนรู้ธรรมชาติเพื่อชีวิต
หน่วยปฏิบัติการธรรมชาติวิทยา
* หน่วยวิจัยป่าชุมชนดงใหญ่
* หน่วยปฏิบัติการภาคตะวันออก
* หน่วยปฏิบัติการภาคใต้
* หน่วยปฏิบัติการถ้ำและเขาหินปูน
* หน่วยปฏิบัติการภาคเหนือ
ห้องเรียนพันธุ์พืช
ธรรมชาตินานาสัตว์
ห้องเรียนนิเวศวิทยา
ห้องเรียนชุมชนท้องถิ่น
บันทึกกิจกรรมค่ายเยาวชนย้อนหลัง
@ ค่ายโรงเรียนพิชญศึกษา
@ ค่ายวิทย์ ฯ โรงเรียนจิตรลดา
@ ค่ายเยาวชนบ้านกองดิน
@ ค่ายวิทย์ ฯ โรงเรียนวัดไผ่ตัน

@ ค่ายการเคหะแห่งชาติ สมุทรสาคร
@ ค่ายอนุรักษ์สัตว์ป่า โรงงานยาสูบ
@ ค่ายสืบทอดภูมิปัญญา ฯ
@ ค่ายล้านแสงหิ่งห้อย ฯ
@ ค่ายเขาใหญ่ การเคหะแห่งชาติ
@ ค่ายวิทย์ รร.มัธยมมีชัยพัฒนา
@ ค่ายวิทย์ รร. เทศบาลวัดดอนไก่ดี
@ ค่ายรักษ์น้ำ รร. วัดสุขไพรวัน
@ ค่ายวิทย์ รร.เบญจมราชรังสฤษดิ์
@ ค่ายเยาวชนสิ่งแวดล้อม เพื่อชีวิต
ห้องเรียนค่ายเยาวชน
บทนำ ศุนย์ธรรมชาติศึกษาไทยได้เล็งเห็นความสำคัญของระบบนิเวศเขาหินปูนในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันกำลัง ถูกคุกคามจากหลายปัจจัย ท่ามกลางการพัฒนาและขยายตัวของสังคมเมือง (urbanlization) ทำให้เขาหินปูนหลายแห่งเป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ภายใต้เงื่อนไขสัมปทานระยะยาวทำให้ยากที่จะระงับหรือยกเลิกสัมปทาน ถึงแม้จะพบชนิดพันธุ์ที่หายากในพื้นที่ก็ตาม ดังนั้นศูนย์ธรรมชาติศึกษาไทยจึงได้จัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการนิเวศวิทยาเขาหินปูนและการ อนุรักษ์ เพื่อสำรวจ นำเสนอ ข้อมูล และหาแนวทางสร้างแนวร่วมในการอนุรักษ์ โดยโครงการจะจัดขึ้นทุกปี หมุนเวียนกันไปในแต่ละพื้นที่ ระยะแรกของโครงการเน้นพื้นที่ภาคกลางที่มีความเสี่ยงสูงก่อน จากนั้นจึงขยายพื้นที่การศึกษาออกไปในภาคอื่น ๆ ต่อไป
๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๓ ถึง ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ณ วนอุทยานถ้ำเพชร ถ้ำทอง อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์
การประชุมเชิงปฏิบัติการนิเวศวิทยาเขาหินปูนและการอนุรักษ์
การประชุมครั้งที่ ๑ ครั้งนี้เป็นการสำรวจเบื้องต้น โดยแสวงหาผู้เชี่ยวชาญที่มีจิตสาธารณะ ร่วมลงพื้นที่สำรวจเพื่อประเมินสถานภาพชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม จากนั้นประชุมหารือกับเครือข่ายชุมชนในพื้นที่ที่มีความเข้มแข็ง แลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็น หาแนวทางในการดำเนินการในปีต่อไป พื้นที่เป้าหมายในระยะแรกมีพื้นที่ศึกษาในหลายจังหวัดภาคกลาง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าชุมชน ในจังหวัดสระบุรี นครราชสีมา ลพบุรี นครสวรรค์ ราชบุรี กาญจนบุรี ระยอง สระแก้ว การทำงานเน้นการมีส่วนร่วมกับชุมชนในพื้นที่ สร้างความร่วมมือ นำไปสู่การพัฒนาเครือข่ายการอนุรักษ์ และการประชุมครั้งนี้ยังมีจุดมุ่งหมายในการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการ นิเวศวิทยาเขาหินปูนและการอนุรักษ์ ของศูนย์ธรรมชาติศึกษาไทยด้วย
ภาพ : กิจกรรมสำรวจสัตว์ในระบบนิเวศน้ำขณะจำแนกและบันทึกผล
เห็ดและราขนาดใหญ่
บทสรุป
เขาหินปูนมีระบบนิเวศซับซ้อน หลากหลาย ทั้งระบบนิเวศตามหน้าผาหิน ระบบนิเวศป่าไม้ ระบบนิเวศถ้ำ ระบบนิเวศน้ำ ซึ่งล้วนแต่ขาดข้อมูลที่ดีในการจัดการ เขาหินปูนที่ยังหลงเหลือรอดพ้นจากการสัมปทาน ยังเหลือน้อยมาก และนับวันจะหายไปเรื่อย ๆ ดังนั้นการให้การศึกษากับชุมชนรอบ ๆ พื้นที่เขาหินปูนจึงมีความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อสร้างแนวร่วมในการอนุรักษ์และรักษาระบบ นิเวศที่บอบบางไว้ให้ได้ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือกับทุกฝ่ายจึงจะประสบ ผลสำเร็จ
ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ สามารถดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ มีคณะผู้เชี่ยวชาญร่วมสำรวจจำนวน ๔ คน ซึ่งตรงเป้าหมาย เพื่อให้ง่ายต่อการทำงาน มีทั้งด้านพืชและสัตว์ และผู้เข้าร่วมสำรวจจำนวน ๓ คนเคยทำการสำรวจเขาหินปูนในโครงการนี้แล้วเมื่อปี ๒๕๕๒ ที่เขาหินปูนพระพุทธบาทน้อย อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี และอีกท่านหนึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านแมงมุมจากกรมวิชาการเกษตร ซึ่งทำให้ได้ข้อมูลสัตว์ในกลุ่มนี้อย่างมาก ในการสำรวจแบ่งชนิดพันธุ์ออกเป็น ๕ กลุ่มดังนี้
๑. กลุ่มชนิดพันธู์ที่หายากและถูกคุกคาม
๒. กลุ่มชนิดพันธุ์ที่ชุมชนใช้ประโยชน์
๓. กลุ่มชนิดพันธุ์ใหม่และข้อมูลใหม่ในพื้นที่
๓. กลุ่มชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่น
๔. กลุ่มชนิดพันธุ์บ่งชี้วัดระบบนิเวศเขาหินปูน
๕. กลุ่มชนิดพันธุ์ที่ขาดข้อมูล
ในขณะเดียวกันผลจากการประชุมหารือทำให้เกิดแนวทางในการ ทำงานเพื่อพัฒนาเครือข่ายด้านการอนุรักษ์เขาหินปูน ในการประชุม และดำเนินกิจกรรมครั้งต่อไปมีแนวร่วมเข้าร่วมกิจกรรมดังนี้
๑. วนอุทยานถ้ำเพชร ถ้ำทอง
๒. สำนักปฏิบัติธรรมถ้ำบ่อปลา
๓. โรงเรียนตาคลีประชาสรรค์
๔. โรงเรียนบ้านชอนเดื่อ
๕. โรงเรียนวัดสุขไพรวัน
๖. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
๗. ศูนย์ธรรมชาติศึกษาไทย
๘. กรมวิชาการเกษตร
๙. ชุมชนบ้านชอนเดื่อ
๑๐.ชุมชนตำบลกองดิน
๑๑. กลุ่มต้นไม้ทูยู
๑๓. คณะวนศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์
ในการสำรวจครั้งนี้ข้อมูลจากภาคสนามจะนำไปจัดทำคู่มือ ศึกษาธรรมชาติเขาหินปูน ซึ่งมีระยะการเตรียมต้นฉบับประมาณสี่เดือน จากนั้นก็เตรียมการสำหรับการประชุมครั้งต่อไป รวมทั้งในการระดมความคิดในการหาผู้ร่วมสนับสนุนการ
ประชุมด้วย
ภาพ:ขณะทำการสำรวจภาคสนามในแต่ละ พื้นที่
ภาพขวา : ขนุนดิน ( )
ภาพซ้ายบน : กิ้งก่าหัวแดง (Calotes versicolor)
ภาพซ้ายล่าง : หยาดสะอาง ( Chirita tubulosa)
ภาพบน : ขณะประชุมหารือถึงแนวทางในการจัดกการประชุมครั้งต่อไป
ภาพขวา : ขณะทำการสำรวจในภาคกลางคืน
ภาพ : สภาพเขาหินปูนที่ได้รับการสัมปทาน
ร่วมแสดงความคิดเห็นกิจกรรมที่นี่
นกกะเต็นน้อย : รายงาน
จักรพันธุ์ : ถ่ายภาพ
๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๓

มุมสาระความรู้ กล้วยไม้ เฟิน ไม้ยืนต้น ไม้เลื้อย หญ้า เห็ดราขนาดใหญ่ มอส ไลเคน สาหร่าย สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก นก แมลง แมงมุม แมงป่อง กิ้งกือ ไส้เดือน ปลา หอยแห่งท้องทะเล หอยน้ำจืด หอยทากบก ปู กุ้งและกั้ง ป่าไม้เมืองไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความหลากหลายทางชีวภาพ สภาวะโลกร้อน สึนามิ
ห้องเรียนธรรมชาติวิทยา
บันทึกการเดินทางย้อนหลัง
นกกระจอกใหญ่ งานแต่งงานและเหล่าแมลง
บันทึกนกจากเขาสอยดาว

บันทึกจากต้นหว้าในช่วงเวลาปิดเทอมร้อน
ขีดความสามารถรองรับด้านสัตว์ป่า
แนวทางวนเกษตรที่บ้านกุเตอร์โก

เห็ดกินได้ในป่าชุมชนดงใหญ่กับวันวาร
สำรวจและเรียนรู้โฮย่ากับผู้เชี่ยวชาญ
บันทึกจากประชุมเชิงปฏิบัติการเขาหินปูน
บการสำรวจของนักสำรวจธรรมชาติรุ่นเยาว
ประชุมสรุปผลงานโครงการอนุรักษ์แม่น้ำลำคลอง
-