สงวนลิขสิทธิ์ ๒๕๕๑-๒๕๕๓ โดย ศูนย์ธรรมชาติศึกษาไทย แก้ไขล่าสุด มกราคม ๒๕๕๓
ศูนย์ธรรมชาติศึกษาไทย
THAI NATURE EDUCATION CENTER

@ บันทึกกิจกรรม
@ บันทึกธรรมชาติและการเดินทาง
@ ห้องสมุดธรรมชาติวิทยา
@ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาต

หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา บทความ เอกสารเผยแพรผลงานของเรา โครงการวิจัย อาสาสมัคร งานบริการ
เรียนรู้ธรรมชาติเพื่อชีวิต
หน่วยปฏิบัติการธรรมชาติวิทยา
* หน่วยวิจัยป่าชุมชนดงใหญ่
* หน่วยปฏิบัติการภาคตะวันออก
* หน่วยปฏิบัติการภาคตะวันตก
* หน่วยปฏิบัติการภาคใต้
* หน่วยปฏิบัติการเขาหินปูน
* หน่วยปฏิบัติการภาคเหนือ
ห้องเรียนพันธุ์พืช
ธรรมชาตินานาสัตว์
ห้องเรียนนิเวศวิทยา
ห้องเรียนชุมชนท้องถิ่น

ท่องเที่ยวและเดินทาง
จองบ้านพักอุทยานแห่งชาติ
จองตํ๋วเครื่องบิน

จองตั๋วรถไฟ
จองตั๋วรถทัวส์

บรรยากาศการอบรมวนเกษตรและการดูงานในบ้านมูเซอร์ การอบรมจัดโดยศูนย์ ศึกษาและพัฒนาวนศาสตร์ชุมชนที่ ๔ ตาก
บันทึกวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๓ โดย ประสิทธิ์ วงษ์พรม
อ่านเอกสารประกอบการบรรยายวนเกษตรบ้านกุเตอร์โก ตำบลสามหมื่น

บันทึกการเดินทางย้อนหลัง
นกกระจอกใหญ่ งานแต่งงานและเหล่าแมลง
บันทึกนกจากเขาสอยดาว

บันทึกจากต้นหว้าในช่วงเวลาปิดเทอมร้อน
แนวทางวนเกษตรฟื้นป่าที่บ้านกุเตอร์โก
ขีดความสามารถรองรับด้านสัตว์ป่า

เห็ดและราขนาดใหญ่
แนวทางการฟื้นป่าและแก้ไขปัญหาความยากจนด้วยวนเกษตร ที่บ้านกุเตอร์โก ต.สามหมื่น อ. แม่ระมาด จ. ตาก
ผมมีโอกาสได้เดินทางไปร่วมสำรวจพื้นที่ปลูกป่าอาหารช้างและวนเกษตร ณ บ้าน กุเตอร์โก ต. สามหมื่น อ.แม่ระมาด จ.ตาก ตามโครงการผ้าป่า สามัคคีวนศาสตร์เพื่อชาติ เพื่อชุมชน เพื่อช้างไทย น้อมใจภักดิ์ถวายองค์ราชันและราชินี โดยได้รับเกียรติเป็นหนึ่งในคณะทำงานครั้งนี้ และในขณะเดียวกันก็ได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายให้กับราษฎรบ้านกุเตอร์โก ที่เข้าอบรมในหลักสูตรวนเกษตร ที่หน่วยจัดการต้นน้ำดอยมูเซอร์ ทำให้ผมรู้สึกว่าเป็นครั้งหนึ่งที่ได้นำความรู้วนศาสตร์รับใช้ประชาชนโดยตรงและด้วยความ ภูมิใจ ก่อนการอบรมผมกับเพื่อนวนศาสตร์รุ่นที่ ๖๐ อีกสองคน เข้าสำรวจพื้นที่เป้าหมายของโครงการ สำหรับเพื่อนทั้งสองทำหน้าที่รังวัดพื้นที่ กำหนดแนวเขตสำหรับเป็นพื้นที่ปลูกฟื้นฟูป่า ส่วนผมทำหน้าที่สำรวจพรรณไม้ดั้งเดิมว่ามีชนิดใดบ้าง และทำการวิเคราะห์พื้นที่ โดยการสำรวจครั้งนี้มีท่านกำนันตำบลกุเตอร์โกให้คำแนะนำ รวมทั้งเป็นอาสาสมัครในโครงการด้วย เมื่อการสำรวจสิ้นสุดสุดลงในวันเดียว วันถัดมาก็เป็นการอบรมราษำรในพื้นที่เป้าหมาย
ขณะทำการสำรวจพื้นที่บริเวณไร่กะหล่ำม้ง
บ้านกุเตอร์โก อยู่ในท้องที่ตำบลสามหมื่น อำเภอแม่ระมาด ประชากรส่วนใหญ่มีเชื้อสายปกากญอ ประกอบอาชีพปลูกพืชไร่เพื่อจำหน่าย ซึ่งเป็นข้าวโพดเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนั้นคือทำนาปีตามหุบเขาแคบ ๆ และปลูกข้าวไร่ตามที่ลาดชันไหล่เขา การปลูกข้าวเพื่อยังชีพ นอกจากนั้นยังมีเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว หมู แพะ ช้าง เป็นต้น สภาพพื้นที่บ้านกุเตอร์โกเป็นเขาสลับซับซ้อน พื้นที่หมู่บ้านตั้งอยู่ในหุบเขาที่มีลำห้วยไหลผ่าน ลำห้วยเป้นต้นน้ำสำคัญของแม่น้ำปิง พื้นที่รอบหมู่บ้านเป็นไร่ ซึ่งมีสภาพเป็นพื้นที่โล่งอันเนื่องจากการเปิดป่าจนหมด น้ำในลำห้วยไหลตลอดปี และมีแอ่งน้ำซับ น้ำคำ ซึมตามที่ลุ่มหุบเขา การสันจรของบ้านกุเตอร์โกห่างจากตัวอำเภอแม่ระมาดและจังหวัดตาก ทำให้การคมนาคมมีความลำบาก นี่เป็นเหตุผลหลักที่ทำให้ชุมชนตกอยู่ในสภาพกันดาร
ด้วยสภาพป่ากลายเป็นเขาหัวโล้น คนในชุมชนตกอยู่ในสภาพหนี้สินล้นตัว ติดอยู่ในวังวนทุนนิยม ข้าวโพดเป็นพืชเชิงเดี่ยวคือตัวปัญหาที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศ ดังนั้นการแก้ไขความยากจนจึงต้องเริ่มที่การฟื้นฟูระบบนิเวศ นำป่าให้กลับคืนมา อย่างน้อยก็พื้นที่สีเขียว ปกากญอมีภูมิปัญญาในการอยู่กับป่าและใช้ป่า แต่ในขณะเดียวกันต้องเรียนรู้วิธีการปลูกบำรุงป่าสมผสานกับภูมิปัญญาดั้งเดิม อย่างไรก็ตามการการจะเปลี่ยนแปลงการเพาะปลูกพืชเกษตรหลักแล้วให้หันมาปลูกป่าและพรรณไม้ในระบบวนเกษตรก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากด้วยภาระหนี้สินทำให้ต้องหาเงินมาคืนเจ้าหนี้ สิ่งสำคัญในขณะเริ่มต้นรัฐหรือผู้ดำเนินโครงการต้องจริงใจในการแก้ไขปัญหา และดำเนินการในรูปแบบสาธิต อาสาสมัครต้นแบบ เพื่อให้คนในชุมชนได้เห็นต้นแบบตัวอย่างที่ประสบผลสำเร็จ จากนั้นพัฒนาเป็นเครือข่ายทางการตลาดและการแลกเปลี่ยนความรู้ รัฐให้การสนับสนุนให้เป้นพื้นที่วิจัย ศึกษา ดูงาน ไปพร้อม ๆ กัน ในการอบรมคนในชุมชนสะท้อนให้เห็นถึงพืชที่ต้องการนำมาปลูกในพื้นที่ แม้จะเป็นพืชเกษตรแต่ก็เป็นไม้ยืนต้น ในขณะเดี่ยวกันควรเพิ่มพืชที่มีอายุสั้น บำรุงดินและรักษาสภาพดิน รวมทั้งสามารถจำหน่ายได้ เป็นการชดเชยและทำให้เกิดรายได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลดีด้านทัศนคติต่อระบบวนเกษตร
สภาพพื้นที่ในหมู่บ้านและไร่รอบหมู่บ้าน ตั้งอยู่ในหุบเขาและล้อมรอบด้วยเขาที่ไม่มีต้นไม้ ซึ่งอยู่ในความเสี่ยงต่อการเกิดดินถล่มในฤดูน้ำหลาก การฟื้นฟูป่าไปพร้อม ๆ กับแก้ไขความจนเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วน
พื้นที่แปลงปลูกป่าและทดลองระบบวนเกษตร ตั้งอยู่บนเขา เป้นพื้นที่เดียวของชุมชนที่เหลืออยู่ มีพื้นที่ประมาณ ๓๖ ไร่
ตัวอย่างพรรณไม้บางส่วนที่พบในพื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ ส้มกบ มะขามป้อม แสลงใจ สัก มะกอกป่า ตามลำดับ
หลังจากผมได้ลงพื้นที่ พบปะพูดคุยกับคนในชุมชนจึงเกิดแนวคิดที่จะหาแนวทาง ในการส่งเสริมวนเกษตรให้เกิดความต่อเนื่อง เนื่องจากโครงการผ้าป่ามีเพียงปีเดียว ซึ่งง่ายต่อความล้มเหลว ดังนั้นการวิจัยแบบเชิงปฏิบัติการโดยมีชุมชนมีส่วนร่วม โดยมีอาสาสมัครชุมชนเป็นผู้ร่วมวิจัย เก็บข้อมูลในระยะยาวอย่างน้อย ๕ ปี การวิจัยมุ่งที่ผลสำเร็จคือการฟื้นป่าแก้ปัญหาความยากจน ซึ่งศูนย์ธรรมชาติศึกษาไทยมีความยินดีในการส่งเสริมวนเกษตรและ มีนักวิจัยติดตามอย่างสม่ำเสมอจนโครงการบรรลุผล
-