สงวนลิขสิทธิ์ ๒๕๕๑-๒๕๖๐ โดย ศูนย์ธรรมชาติศึกษาไทย แก้ไขล่าสุด มกราคม ๒๕๖๐

@ บันทึกกิจกรรม
@ บันทึกธรรมชาติและการเดินทาง
@ ห้องสมุดธรรมชาติวิทยา
@ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาต
Education Activities 2017

@ Wildlife Education #1
@ Young Naturalist
@ Amateur Nature Explorer
@ Nature Interpretation for Trainer
@ IPM in permaculture
@ Science Talent Youth Camp

ห้องเรียนธรรมชาติวิทยา
หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา บทความ เอกสารเผยแพรผลงานของเรา โครงการวิจัย อาสาสมัคร งานบริการ
เรียนรู้ธรรมชาติเพื่อชีวิต
หน่วยปฏิบัติการธรรมชาติวิทยา
* หน่วยวิจัยป่าชุมชนดงใหญ่
* หน่วยปฏิบัติการภาคตะวันออก
* หน่วยปฏิบัติการภาคใต้
* หน่วยปฏิบัติการถ้ำและเขาหินปูน
* หน่วยปฏิบัติการภาคเหนือ
ห้องเรียนพันธุ์พืช
ธรรมชาตินานาสัตว์
ห้องเรียนนิเวศวิทยา
ห้องเรียนชุมชนท้องถิ่น

งานแต่งงาน นกกระจอกใหญ่ และเหล่าแมลง
ถึงเวลาเดินทางเมื่อไหร่หัวใจเต้นระริกที่จะได้โลดแล่นอีกครั้งหนึ่งทุกครั้งที่นั่งรถและมองออกไปสองข้างทางมักจะมีเรื่องราว หลากหลายให้คิดและตั้งคำถาม ครั้งนี้ได้มีโอกาสไปร่วมงานแต่งงานเพื่อนรุ่นที่อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี อำเภอน้องใหม่ที่เพิ่งจะตั้งได้ไม่นาน หลังจากที่อำนาจเจริญแยกตัวออกมาได้ไม่กี่ปี อำเภอเล็ก ๆชายแดนลาวอยู่ติดกับ แม่น้ำโขง ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของอำเภอเขมราฐ ทรัพยากรธรรมชาติก็ไม่แตกต่างกันมากนักประชาชนส่วนใหญ่ยังยึดอาชีพ ทำนาและเกษตรกรรมอื่น ๆ เป็นอาชีพเสริม เราขับรถจากกรุงเทพในค่ำวันศุกร์และถึงจุดหมายในเช้าวันเสาร์ ทันทีที่ลง จากรถผมก็สังเกตเห็นนกกระจอกฝูงหนึ่งบินวนเวียนบ้างและเกาะอยู่ชายหลังคาบ้างมันมีขนาดตัวใหญ่กว่าปกตินี่เองที่ทำ ให้ผมหยุดสังเกต และเมื่อเห็นในระใกล้เข้ามาอีกทำให้ทราบได้ทันทีว่าเป็นนกระจอกใหญ่ มันมีจำนวนมากกว่า ๑๐ตัว และปะปนอยู่กับนกกระจอกบ้าน ทำให้แยกความแตกต่างได้ง่ายมากขึ้นเมื่อได้เจอมันแล้วผมก็ไม่ได้คิดอะไรมาก ไปกว่าทึ่งในการปรับตัวและกระจายพันธุ์ของมัน มันรวดเร็วและนับวันจะพบได้บ่อยในเกือบทุก ๆ หนแห่งของประเทศเรา มื่อราว ๒๐ ปีที่แล้วเรามักพบมันได้เฉพาะในบางจังหวัดของภาคเหนือตอนบน ตาก กำแพงเพชรแต่ปัจจุบันพบได้ทั่วไป แม้แต่บางจังหวัดในภาคใต้

ท่องเที่ยวและเดินทาง
จองบ้านพักอุทยานแห่งชาติ
จองตํ๋วเครื่องบิน

จองตั๋วรถไฟ
จองตั๋วรถทัวส์
นกกระจอกใหญ่มีชื่อสามัญภาษาอังกฤษว่า House Sparrow เคงเป็นเพราะมันอาศัยอยู่กับบ้านเรือนของคน ทางยุโรปจึงตั้งชื่อเช่นนั้น ส่วนชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Passer domesticus ตามรากศัพท์แล้วคำว่า domesticus แปลว่า ภายในประเทศ เป็นนกที่มีถิ่นกำเนิดในแถบยุโรป อาศัยอยู่ตามบ้านเรือน ชุมชน และแถบชนบท กินเมล็ดธัญพืช เศษอาหารจากมนุษย์ เป็นอาหาร เป็นนกที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง ลักษณะทั่วไปมีลำตัวสีน้ำตาลอมเทา หัวสีเทา ท้องสีเทาอ่อน ๆ

เเหล่าแมลงที่เราพูดถึงคือแมลงกินได้ที่ทอดขายเรียงรายในซุ่มริมทาง อุบลราชธานีขศรีษะเกษภายใต้ร่มเงาของยางนาต้นใหญ่มีซุ้มขายสินค้า พื้นเมืองเรียงรายสองข้างทาง ต้นยางกลายเป็นสัญลักษณ์ของตลาดไป แล้ว สินค้ามีตั้งแต่ขนม มันพื้นเมือง มันแกว มันเทศ หมูยอ ที่ขาดไม่ได้คือ เหล่าแมลงทอด ด้วยความสนใจส่วนตัวในเรื่องแมลงทำให้ผมอดไม่ ได้ที่จะเก็บข้อมูลและบันทึกภาพ เนื่องจากแมลงเป็นอาหารสำคัญของคน ในถิ่นนี้ แม้จะไม่ใช้อาหารหลัก แต่ก็จัดเป็นอาหารขบเคี้ยวประเภท snack food ที่มีประโยชน์ไม่น้อยอาหารเหล่านี้สะท้ออนไปถึงรากเหง้า วัฒนธรรมและการเรียนรู้ธรรมชาติวิทยา ของชุมชน โดยเฉพาะเด็ก ๆ ได้สนุกกับการเก็บแมลง ไล่ล่า ค้นหาแมลง สนุกกับการวิ่งเล่นไปพร้อม ๆ กัน แมลงที่จับมาได้นำมาขายก็เป็นรายได้เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการ ลดศัตรูธรรมชาติของพืช ส่วนหนอนไหมนั้นต้องนั่งเฝ้ารอคอยกว่า จะสาวไหมออกจาก ตัวหนอน ต้องเลี้ยงตัวหนอนก่อนจะได้กิน ทำให้เห็น กระบวนการเกิดไหม กลายเป็นผ้าไหมผืนงาม เหล่านี้ล้วนมีกลิ่นอาย ของวิถีชุมชนและวัฒนธรรม ผมเห็นหลายคนแสดงอาการรังเกียจแมลง และทำหน้าเหยเกเมื่อถูกชักชวนให ้ชิมแมลงทำให้ผมเห็นความไม่เข้าใจ ในสาระของคนเหล่านี้ ของดี ๆ ไม่จำเป็นต้องสวยงาม และของแปลก ก็ไม่ใช่ของไม่ดีเสียหน่อย เหตุใดต้องทำท่าทำทางรังเกียจถึงเพียงนั้น มนุษย์ผู้ซึ่งกินเนื้อ ล้มวัวตัวใหญ่นั้น น่ารังเกียจกว่าหลายเท่า บทสรุปของการเดินทาง ด้วยการเดินทางที่เต็มไปด้วยเหตุผล ทำให้เรา ได้สังเกตและเรียนรู้ธรรมชาติและวัฒนธรรมไปพร้อมกัน งานแต่งงาน สะท้อนความเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนเช่นเดียวกับอาหารที่เขารับประทาน
ก็สะท้อนวิถีชีวิต นกกระจอกใหญ่ตัวน้อยสะท้อนถึงความยิ่งใหญ่ของการ
มีชีวิต กินง่าย อยู่ง่าย รู้จักพอ แค่นี้ก็ทำให้เราอยู่บนโลกได้อย่างมีความ
สุขเผ่าพันธุ์ก็แข็งแรงเช่นเดียวกับนกกระจอกที่ไม่กระจอกเลยในสายตา
ของผมมันย้ายฐานบ้านเกิดจากยุโรปและแพร่ พันธุ์ในประเทศไทยได้
อย่างรวดเร็ว ล้วนสะท้อนถึงความมีดีของมันในตัว

ดักแด้ไหม ได้จากการเลี้ยงผีเสื้อหนอนไหม จัดเป็นผีเสื้อกลางคืนที่มีประโยชน์ กว่าจะได้มาต้องผ่านกระบวน การสาวไหมออกจากตัวดักแด้ก่อน ซึ่งต้องใช้เวลาและความอดทน
ตั๊กแตนหนวดสั้นวงศ์Acridiidae เป็นแมลงที่มีรสชาติดี สามารถนำมารับประทานได้ หลายชนิด เช่น ตั๊กแตนปาทังกา ตั๊กแตนคอเลื่อน ตั๊กแตนเจ้น ตั๊กแตนโม เป็นต้น การจับหาใช้สวิงไล่จับและอวนบก (กะแหง่ง)
แมงดานา หรือ Giant Water bugเป็นอาหารของคนอีสาน
มานานสะท้อนถึงภูมิปัญญาใน
การใช้ กลิ่นในการปรุงรส แมงดาตัวผู้มีกลิ่นหอม ส่วนแมงดาตัวเมียจะมีมันมาก โดยเฉพาะช่วงเดือนธันวาคม จะสะสมมันและอาหารเพื่อวาง ไข่ในต้นฤดูฝน
จิ้งหรีด หรือ cricket มีหลายชนิด เช่น จิโป่ม จิหล่อ จินาย การเก็บหามีหลายวิธี เช่น จิโป่ม ใช้การขุด ส่วนวิธีอื่น ๆ เช่น ไฟส่องหา ไฟล่อ เป็นต้น
บันทึกวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๒ โดย ประสิทธิ์ วงษ์พรม

บันทึกการเดินทางย้อนหลัง
นกกระจอกใหญ่ งานแต่งงานและเหล่าแมลง
บันทึกนกจากเขาสอยดาว

บันทึกจากต้นหว้าในช่วงเวลาปิดเทอมร้อน
ขีดความสามารถรองรับด้านสัตว์ป่า
แนวทางวนเกษตรที่บ้านกุเตอร์โก

เห็ดกินได้ในป่าชุมชนดงใหญ่กับวันวาร
บันทึกจากผ้าป่าสามัคคีที่บ้านกุเตอร์โก
จากผ้าป่าสามัคคีสู่งานวิจัยในบ้านกุเตอร์โก
สำรวจและเรียนรู้โฮย่ากับผู้เชี่ยวชาญ
บันทึกจากประชุมเชิงปฏิบัติการเขาหินปูน
การสำรวจของนักสำรวจธรรมชาติรุ่นเยาว
ประชุมสรุปผลงานโครงการอนุรักษ์แม่น้ำลำคลอง

เห็ดและราขนาดใหญ่
-