สงวนลิขสิทธิ์
๒๕๕๑-๒๕๖๐ โดย ศูนย์ธรรมชาติศึกษาไทย แก้ไขล่าสุด พฤษภาคม ๒๕๖๐
เรียนรู้ธรรมชาติเพื่อชีวิต
ห้องเรียนพันธุ์พืช
ธรรมชาตินานาสัตว์
ห้องเรียนนิเวศวิทยา
ห้องเรียนชุมชนท้องถิ่น
ห้องเรียนคนทำค่าย
การที่เกิดมาเป็นคนและได้รับโอกาสให้ทำดีนั้นเป็นสิ่งสุดประเสริฐ แต่จะประเสริฐยิ่งกว่าหากได้ลงมือทำ ผมได้รับโอกาสนั้นที่บ้านกุเตอร์โกล ในขณะที่ผมเดินขึ้นเขาไปพร้อม ๆ กับชาวบ้านที่ต่างคนต่างช่วยกันขนกล้าขึ้นเขาเพื่อนำไปปลูก บางคนก็ปลูก บางคนทำหน้าที่ขน เดินขึ้นลงเขา ไม่ว่าจะคนแก่ เด็กหนุ่ม เด็กสาว ต่างช่วยกัน โดยมีกำนันเป็นผู้นำหลัก ผมเห็นภาพนี้แล้วก็เกิดแรงบันดาลใจขึ้นมาในบัดดล ทำอย่างไรจะได้มีโอกาสเข้ามาสัมผัสความรู้สึกแบบนี้ สถานที่นี้อีกครั้ง ความรู้สึกที่ผมสัมผัสได้คือความดี ทุกคนปลูกป่าถวายแด่ป่า คุณค่าของป่า ป่าที่เขาใช้ประโยชนืแต่บัดนี้กำลังจะหมดไปกลายเป็นเขาหัวโล้น และในที่สุดผมก็หาเหตุผลที่ดีที่จะเขามาที่นี่อีกครั้ง อย่างน้อยก็ปีละครั้ง วาบความคิด
๑๔-๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ณ บ้านกุเตอร์โกล ต.ส ามหมื่น อ.แม่ระมาด จ.ตาก
จากผ้าป่าสู่งานวิจัยเชิงปฏบัติการอย่างมีส่วนร่วมกับชุมชนกุเตอร์โกล จ. ตาก
ความหวัง ความเศร้า..แล้วเราจะกลับมา
เวลามันสั้นแต่ความสัมพันธ์ยังอีกยาวนาน เป็นคำพูดเดียวที่จะกล่าวก่อนเสร็จงาน ทิ้งไว้เพียงคำถามและคำตอบที่ต้องกลับมาค้นหา ผมจะกลับมาและจะพาหลายคนมาร่วมรับรู้ความรู้สึกดีและความดี อย่างน้อยก็เพื่อเด็ก ๆ และป่าไม้ ก่อนกลับผมคุยกับเพื่อน เราน่าจะหาเวลาเข้ามา พร้อมกับหาทุนการศึกษาให้เด็ก ๆ หารับบริจาคจักรยานมือสองมาไว้ให้เด็ก ๆบ้าง หรืออย่างน้อยก็พาเด็ด ๆ เดินขึ้นเขาดูนก พรรณไม้ สัมผัสธรรมชาติ มีลุงปิลอยเป็นวิทยากรก็น่าจะดี พอพูดถึงลงปิลอยก็พลอยนึกถึงข่าวร้ายในคืนก่อนกลับ ภรรยายของลุงล้มป่วยด้วยอาการมาลาเรียกำเริบและขึ้นสมอง หมอไม่รับรักษาให้กลับมาดูใจที่บ้านตอนดึกเมื่อคืน มายังไม่ถึงบ้านก็สิ้นใจ เราจึงสลดหดหู่อยู่ไม่น้อย ก่อนเดินทางกลับพวกเราไปร่วมทำบุญกับคุณลุง และมอบเงินให้ชุมชนผ่านกำนันในการดูแลต้นไม้และแปลงสาธิต ก่อนกลับผมถอนหายใจนึกถึงคำพูดลุงปิลอยอีกครั้ง " พระเจ้ามันนัก" หมายความว่าพระเจ้ามันเยอะ ระหว่างขับรถออกจากตำบลสามหมื่นผมเห็นป้ายติดอยู่บนต้นไม้สูงลิ่วเขียนว่า "พระเยซูไถ่บาปให้ท่าน" ผมอ่านแล้วสังเวชใจ เฮ้อ ! พระเจ้านี่คงชอบต้นไม้และที่สูง พระเจ้าเดียวกับลุงปิลอยกล่าวถึงหรือไม่น๊อ แต่ที่ผมเข้าใจตอนนี้ แม้แต่พระเจ้าก็ช่วยเมียลุงไว้ไม่ได้ "ไปสู่สุคตินะป้า" ผมได้แต่ภาวนา..สาธุ
เกิดขึ้นว่า งานวิจัยเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงทางนิเวศในพื้นที่ฟื้นฟูป่า ด้วยวนเกษตร ซึ่งมีระยะเวลาติดตามอย่างน้อย ๕ ปี เงินทุนนั้นไม่มี มีแต่ใจก็มา หรือคิดหาทุนภายหลังจากนี้ และทันใดนั้นเองชาวบ้านก็ปลูกป่ามาจนถึงจุกที่ผมสำรวจ พันธุ์ไม้พอดี ผมจึงได้จังหวะเล่าความคิดนี้กับสารวัตรกำนัน และแล้วทุกคนก็ช่วยกันวางแปลง ทำหลักบอกจุดที่ปลูกต้นไม้ ไม่นานแปลงติดตามระบบนิเวศป่าขนาด ๕๐x๒๐ เมตรก็เสร็จในพริบตา แม้ทุกคนจะไม่ทราบว่าทำไปทำไม แต่อย่างน้อยก็เป็นจุดเริ่มต้นในการจะเล่าเรื่องราว คุณค่าของป่าในอนาคต ซึ่งผมยังคิดต่อไปได้อีกไกล นั่นคือเด็ก ๆ หลังการปลูกป่าผมได้มีโอกาสคุยกับครูของโรงเรียนสามหมื่น ซึ่งมาสอนที่บ้านกุเตอร์โกลนี้ สำหรับที่นี่กำหนดให้เป็นโรงเรียนสาขา สอนถึงชั้นป.๔ โดยมีครูบาวิจิตร สร้างอาคารให้เด็ก ๆ ได้มีที่เรียน ครูเล่าว่าปีหน้าก็จะเปิด ป.๕ แล้ว ที่ผ่านมาเด็กจบจากโรงเรียนนี้แล้วต้องไปเรียนต่อที่โรงเรียนตชด. ระยะทางประมาณ ๘ กิโลเมตร พอผมได้ฟังก็ต้องอึ้ง เพราะตอนที่ขับรถผ่านเข้ามานั้น สภาพทางนี้ไม่ต้องพูดถึง ระยะทางนี่ทำให้รู้สึกว่าเมื่อไหร่จะถึง แต่นี่เด็กเขาเดินมาเรียน ผมถึงกับร้อง โอ้ย ในใจ น้ำตาหยดลงท้อง ขณะที่สายตามองไปที่เด็กน้อยที่วิ่งเล่นอยู่รอบ ๆ คุณครู
ร่วมแรงร่วมใจช่วยกันทำแปลงศึกษาการเปลี่ยนแปลงนิเวศระยะยาว ขนาด ๒๐x๕๐ เมตร และปักตำแหน่งที่ปลูกต้นไม้เพิ่ม
เห็ดและราขนาดใหญ่
เหตผลต่อไปที่ผมเป็นข้ออ้างที่จะเข้ามาทำวิจัยที่นี่ นั่นคือคนในชุมชนกับป่า ป่ารอบ ๆ กลายเป็นไร่ข้าวโพด ขณะที่ภูมิปัญญาของชนเผ่าเริ่มถูกลืม ไม่มีใครให้ความสำคัญ ก่อนหน้านี้สองวันผมได้เดินป่าศึกษาพันธุืไม้ร่วมกับพี่บุญเลิศและลุงปิลอย ผมสะดุดกับคำพูดของลุงปิลอยว่า "ทุกวันนี้ไม่มีใครเชื่อผี(ความรู้ ภูมิปัญญาชนเผ่า) เพราะพระเจ้ามันนัก" ผมเงียบไปครู่ ยิ้มอย่างกังวล ยังไม่ทันถามว่าทำไม ลุงปิลอยอธิบายต่อว่า "มีอะไรเขาก็เชื่อหมอ เชื่อตามคนเมือง สมัยใหม่ พวกเรานี่เขาไม่เห็นความสำคัญ " ผมกล่าวต่อว่าเชิงให้กำลังใจ" นี่แหละเป็นเหตุผลที่ผมมาเดินป่ากับลุง และเราจะทำให้เขาไม่ลืมภูมิปัญญาชนเผ่า อย่างน้อยเราจะบันทึกไว้ร่วมกัน" วันนั้นเราไม่ทันจะเดินถึงยอดเขาเพราะระหว่างทางมีเรื่องน่าสนใจ มากมาย สำหรับผมก็ไม่รู้จักเบื่อ หมดเวลาทั้งวันจึงต้องลงจากเขา ทิ้งไว้แต่คำถามมากมายที่ผมยังไม่ได้่ถาม
ถ่ายภาพร่วมกัน
เด็ก ๐ ในชุดประจำเผ่า นี่แหละอนาคตสำคัญของชาติ
พี่บุญเลิศ..ขณะยืนพิจารณาพื้นที่เขาหัวโล้น ไร่ข้าวโพด ด้านหลังคือแนวป่าแปลงสาธิต ซึ่งเป็นพื้นที่เจดัย์ทราย สำนักสงฆ์เดิม
ร่วมงานศพของภรรยาลุงปิลอย และมอบเงินให้ชุมชนผ่านกำนันในการจัดการดูแปลงสาธิต
หลายคนหลายวัยช่วยกันเตรียมพื้นที่และปลูกป่าในพื้นที่แปลงสาธิต
สภาพพื้นที่แปลงสาธิตแสดงให้เห็นแนวเขตการ ใช้ประโยชน์ที่ดินชัดเจน
ฅนไทบ้าน : รายงาน
๑๘ กรกฏาคม ๒๕๕๓
ห้องเรียนธรรมชาติวิทยา
-