สงวนลิขสิทธิ์ ๒๕๕๑-๒๕๖๐ โดย ศูนย์ธรรมชาติศึกษาไทย แก้ไขล่าสุด มกราคม ๒๕๖๐

@ บันทึกกิจกรรม
@ บันทึกธรรมชาติและการเดินทาง
@ ห้องสมุดธรรมชาติวิทยา
@ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ
Education Activities 2017

@ Wildlife Education #1
@ Young Naturalist
@ Amateur Nature Explorer
@ Nature Interpretation for Trainer
@ IPM in permaculture
@ Science Talent Youth Camp
บทความเกี่ยวกับถ้ำและระบบนิเวศเขาหินปูน
@ สำรวจถ้ำเขาชอนเดื่อ จ.นครสวรรค์
@ ความหลากหลายของแมงมุมถ้ำที่เขาชอนเดื่อ
@ อบรมเชิงปฏิบัติการระบบนิเวศเขาหินปูน

ห้องเรียนธรรมชาติวิทยา
หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา บทความ เอกสารเผยแพรผลงานของเรา โครงการวิจัย อาสาสมัคร งานบริการ
เรียนรู้ธรรมชาติเพื่อชีวิต
หน่วยปฏิบัติการธรรมชาติวิทยา
* หน่วยวิจัยป่าชุมชนดงใหญ่
* หน่วยปฏิบัติการภาคตะวันออก
* หน่วยปฏิบัติการภาคใต้
* หน่วยปฏิบัติการถ้ำและเขาหินปูน
* หน่วยปฏิบัติการภาคเหนือ
ห้องเรียนพันธุ์พืช
ธรรมชาตินานาสัตว์
ห้องเรียนนิเวศวิทยา
ห้องเรียนชุมชนท้องถิ่น

หน่วยปฏิบัติการระบบนิเวศถ้ำและเขาหินปูน
ด้วยปัจจุบันอัตราการเจริญเติบโตของเมืองเป็นไปอย่างรวดเร็ว ความต้องการปูนซีเมนต์และหินในการก่อสร้างเพิ่มขึ้นอย่างมาก
ความต้องการดังกล่าวกระทบต่อความอยู่รอดของระบบนิเวศเขาหินปูนและถ้ำใต้เขา ในขณะที่ประเทศไทยมีความรู้เกี่ยวกับระบบ
นิเวศถ้ำและเขาหินปูนน้อยมาก อีกทั้งเขาหินปูนในปัจจุบันมีลักษณะคล้ายเกาะ และเป็นเกาะในอดีตจึงทำให้สิ่งมีชีวิตแยกตัวกัน
ออกไป มีลักษณะจำเพาะของตนเอง จนมีชนิดพันธุ์ใหม่ ๆ เกิดขึ้น และบางชนิดเป็นชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นของประเทศ ดังนั้นศูนย์
ธรรมชาติศึกษาไทยได้เล็งเห็นความสำคัญในการอนุรักษ์ระบบนิเวศเขาหินปูนในประเทศไทยเป็นอันดับเร่งด่วน จึงได้ดำเนินโครงการสำรวจชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามและหายากในระบบนิเวศเขาหินปูนภาคกลาง และได้จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการระบบนิเวศเขาหินปูนขึ้น ณ วนอุทยานถ้ำเพชร-ถ้ำทอง โดยร่วมกับเจ้าหน้าที่วนอุทยาน ฯ และโรงเรียนตาคลีประชาสรรค์ จนเกิดแนวทางจััดตั้งหน่วยปฏิบัติการระบบนิเวศถ้ำและเขาหินปูนขึ้น มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Cave and Karst Ecological Research Unit
(CKERU)

ความรู้ถ้าและเขาหินปูน
@ cave database
@ speleology
@ karst ecology
@ subterrennian biology
ห้องเรียนคนทำค่าย
จุดประสงค์ของ CKERU
๑. เพื่อศึกษาความหลากหลายและนิเวศวิทยาของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศถ้ำ
และเขาหินปูนในประเทศไทย
๒. เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการระบบนิเวศเขาหินปูนของชุมชนเพื่อการ
อนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
๓. เพื่อเผยแพร่ความรู้ระบบนิเวศถ้ำและเขาหินปูนสู่ประชาชนทั่วไป
แนวทางการดำเนินงาน
ในระยะ ๕ ปีแรก (พ.ศ.๒๕๕๙-๒๕๖๓) เน้นการสำรวจความหลากหลาย
ทางชีวภาพในระบบนิเวศถ้ำและเขาหินปูน โดยเริ่มจากพื้นที่นำร่อง ภาคกลาง และภาคเหนือ และควบคู่กับการศึกษาแนวทางการจัดการระ-
บบนิเวศถ้ำและเขาหินปูนของชุมชน โดยนำร่องในพื้นที่ภาคกลาง

กิจกรรมและโครงการวิจัยในปี พ.ศ. ๒๕๕๙-๒๕๖๑
๑. โครงการวิจัยความหลากหลายของสัตว์ถ้ำในวนอุทยานถ้ำตะโคะบิ๊ ร่วมกับวนอุทยานถ้ำตะโคะบิ๊
๒. โครงการอบรมมัคคุเทศก์น้อยถ้ำตะโคะบิ๊ ร่วมกับวนอุทยานถ้ำตะโค๊ะบิ จ.ตาก
๓. โครงการวัจัยแมงมุมถ้ำในพื้นที่ภาคกลางของไทย
๔. โครงการสำรวจและประเมินความหลากชนิดของแมงมุมในระบบนิเวศเขาหินปูนพื้นที่ภาคกลางของไทย

๕. โครงการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศเขาถ้ำ บ้านกองดิน อ.แกลง จ.ระยอง ประยุกต์เพื่อกิจกรรมธรรมชาติศึกษา
๖. โครงการวิจัยความหลากหลายของสัตว์ถ้ำของถ้ำเสือ จ.ตาก

-