สงวนลิขสิทธิ์ ๒๕๕๑-๒๕๖๐ โดย ศูนย์ธรรมชาติศึกษาไทย แก้ไขล่าสุด มกราคม ๒๕๖๐

@ บันทึกกิจกรรม
@ บันทึกธรรมชาติและการเดินทาง
@ ห้องสมุดธรรมชาติวิทยา
@ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ
บทความเกี่ยวกับถ้ำและระบบนิเวศเขาหินปูน
@ สำรวจถ้ำเขาชอนเดื่อ จ.นครสวรรค์
@ ความหลากหลายของแมงมุมถ้ำที่เขาชอนเดื่อ
@ อบรมเชิงปฏิบัติการระบบนิเวศเขาหินปูน
Education Activities 2017

@ Wildlife Education #1
@ Young Naturalist
@ Amateur Nature Explorer
@ Nature Interpretation for Trainer
@ IPM in permaculture
@ Science Talent Youth Camp

ห้องเรียนธรรมชาติวิทยา
หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา บทความ เอกสารเผยแพรผลงานของเรา โครงการวิจัย อาสาสมัคร งานบริการ
เรียนรู้ธรรมชาติเพื่อชีวิต
หน่วยปฏิบัติการธรรมชาติวิทยา
* หน่วยวิจัยป่าชุมชนดงใหญ่
* หน่วยปฏิบัติการภาคตะวันออก
* หน่วยปฏิบัติการภาคใต้
* หน่วยปฏิบัติการถ้ำและเขาหินปูน
* หน่วยปฏิบัติการภาคเหนือ
ห้องเรียนพันธุ์พืช
ธรรมชาตินานาสัตว์
ห้องเรียนนิเวศวิทยา
ห้องเรียนชุมชนท้องถิ่น
สำรวจนิเวศเขาหินปูนแห่งเขาชอนเดื่อ
จังหวัดนครสวรรค์ระบบนิเวศเขาหินปูนเป็นระบบนิเวศที่มีความบอบบาง และยิ่งนับวันจะถูกคุกคามมากขึ้น เนื่องจากความต้องการในการระเบิดหินเพื่อนำไปเป็นปูนซีเมนต์และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในขณะเดียวกันความหลากหลายทางชีวภาพก็ถูกคุกคามมากขึ้นด้วย เนื่องจากมีชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นที่นักสะสมและนักวิชาการต้องการนำไปศึกษา และจำหน่าย เช่น พืชหลายชนิดมีความเฉพาะ สวยงาม รูปร่างแปลก และบางชนิดเจริญงอกงามเพียงบางฤดูเท่านั้น ดังนั้นทางศูนย์ธรรมชาติศึกษาประเทศไทย จึงได้จัดโครงการสำรวจและประเมินสถานภาพชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามในพื้นที่เขาหินปูน ในที่ราบลุ่มภาคกลางของไทย เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่นอกพื้นที่อนุรักษ์และยังไม่มีมาตรการการคุ้มครอง พื้นที่ศึกษาได้แก่ จังหวัดสระบุรี จังหวัดลพบุรี นครสวรรค์ ราชบุรี กาญจนบุรี
ความรู้ถ้าและเขาหินปูน
@ cave database
@ speleology
@ Karst ecology
@ subterrennian biology
ห้องเรียนคนทำค่าย

นอกจากพื้นที่จะมีพรรณไม้หายากและมีการป้องกัน รวมทั้งมีการศึกษาอย่างดีแล้ว มรดกที่สำคัญของพื้นที่เขาหินปูนคือ การมีถ้ำกระจายอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของสัตว์ถ้ำมากมาย เช่น ค้างคาวชนิดต่าง ๆ กิ้งกือถ้ำ แมงมุมถ้ำ แมงแส้ เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสัตว์ที่ยังไม่มีการศึกษาอย่างจริงจังเลยในประเทศเรา นอกจากในถ้ำแล้ว ตามหินปูนยังเป็นที่อาศัยของเหล่าหอยทากจิ๋ว ตัวเล็ก ๆ มีความสำคัญต่อระบบนิเวศไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าสัตว์ขนาดใหญ่ ตามพื้นป่าเป็นที่สะสมของซากพืช กลายเป็นอาหารชั้นดีของหอยทาก จึงทำให้พื้นที่แห่งนี้มีหอยทากหลากหลายชนิดและมีปริมาณมากด้วย เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่มีนักเรียนและครูในพื้นที่สนใจศึกษาหอยทากและกิ้งกือ ซึ่งจะเป็นแนวร่วมสำคัญในการอนุรักษ์เขาหินปูนแห่งนี้ไว้

วันที่ ๘-๙ สิงหาคม ๒๕๕๒ ที่ผ่านมา อาสาสมัครฝ่ายวิจัย-วิชาการ ศูนย์ธรรมชาติศึกษาประเทศไทย ได้สำรวจเขาชอนเดื่อ ในเขตอำเภอตาคลี จังหวัดนครสววรรค์ ซึ่งเป็นการสำรวจครั้งที่สาม และพื้นทีที่สามด้วย ในการสำรวจเบื้องต้นพบพรรณไม้หายาก เช่น จันผา หนุมานนั่งแท่น โมกราชินี พญามูลเหล็ก พญารากดำ เทียน เป็นต้น ในพื้นที่เขาชอนเดื่อถูกประกาศให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๓ ทำให้ยังคงสภาพสมบูรณ์ และมีการป้องกันรักษาอย่างเข้มงวด มีกิจกรรมให้ความรู้ เป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียน นักศึกษา และชุมชนด้วย ซึ่งเป็นแนวทางที่ดีในการจัดการพื้นที่อนุรักษ์ในปัจจุบัน เขาชอนเดื่อเเม้จะมีพื้นที่ไม่มาก แต่ก็มีคุณค่าประมาณมิได้ในสายตาคนท้องถิ่น ซึ่งอาจจะเป็นเขาหินปูนที่สมบูรณ์ที่สุดของที่ราบภาคกลางก็ได้
จากพรรณไม้ สัตว์ป่า และถ้ำ แล้ว นอกจากนี้ยังมีมรดกสำคัญทางธรรมชาติที่ทิ้งไว้ให้คนได้ศึกษา กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ ถ้ำในเขาชอนเดื่อเคยมีคนยุคหินอาศัยอยู่ จากหลักฐานชี้ให้เห็นถึงความสำคัญ แต่ที่น่าสนใจมากกว่านั้นคือมรดกที่ทั้งไว้เมื่อราว ๒๘๐ ล้านปีที่แล้ว นั่นคือฟอสซิล ที่พบตามหินปูน จากการสำรวจเบื้องต้นพบไม่น้อยกว่า ๘ ไฟลัม ที่เหลือยังรอการค้นพบจากนักวิชาการเฉพาะทาง สำหรับการสำรวจครั้งนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่คำถามอื่น ๆ และเป็นพื้นฐานสำคัญในการจัดกิจกรรมอนุรักษ์ป่าเขาหินปูนนี้ไว้ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับลูกหลานคนไทยต่อไป ซึ่งทางศูนย์ธรรมชาติศึกษาประเทศไทยกำลังผนึกกำลังกับอาจารย์ราชภัฎนคร สวรรค์และโรงเรียนตาคลีประชาสรรค์ และวนอุทยานแห่งชาติเขาถ้ำเพชร-ถ้ำทอง ในการศึกษาในระยะต่อไป
์์หากท่านใดสนใจเข้าร่วมกิจกรรมและเป็นอาสาสมัครทางศูนย์ธรรมชาติศึกษไทยก็ยินดีครับ หรือหากไม่มีเวลาจะสมทบทุนในการจัดกิจกรรมหรือเพื่อการวิจัยได้ตลอดเวลาครับ
-