สงวนลิขสิทธิ์ ๒๕๕๑-๒๕๖๐ โดย ศูนย์ธรรมชาติศึกษาไทย แก้ไขล่าสุด มีนาคม ๒๕๖๐

@ บันทึกกิจกรรม
@ บันทึกธรรมชาติและการเดินทาง
@ ห้องสมุดธรรมชาติวิทยา
@ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ
Education Activities 2017

@ Wildlife Education #1
@ Young Naturalist
@ Amateur Nature Explorer
@ Nature Interpretation for Trainer
@ IPM in permaculture
@ Science Talent Youth Camp

หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา บทความ เอกสารเผยแพร่ ผลงานของเรา โครงการวิจัย อาสาสมัคร งานบริการ
เรียนรู้ธรรมชาติเพื่อชีวิต
หน่วยปฏิบัติการธรรมชาติวิทยา
* หน่วยวิจัยป่าชุมชนดงใหญ่
* หน่วยปฏิบัติการภาคตะวันออก
* หน่วยปฏิบัติการภาคใต้
* หน่วยปฏิบัติการถ้ำและเขาหินปูน
* หน่วยปฏิบัติการภาคเหนือ
ห้องเรียนพันธุ์พืช
ธรรมชาตินานาสัตว์
ห้องเรียนนิเวศวิทยา
ห้องเรียนชุมชนท้องถิ่น
บันทึกกิจกรรมค่ายเยาวชนย้อนหลัง
@ ค่ายโรงเรียนพิชญศึกษา
@ ค่ายวิทย์ ฯ โรงเรียนจิตรลดา
@ ค่ายเยาวชนบ้านกองดิน
@ ค่ายวิทย์ ฯ โรงเรียนวัดไผ่ตัน

@ ค่ายการเคหะแห่งชาติ สมุทรสาคร
@ ค่ายอนุรักษ์สัตว์ป่า โรงงานยาสูบ
@ ค่ายสืบทอดภูมิปัญญา ฯ
@ ค่ายล้านแสงหิ่งห้อย ฯ
@ ค่ายเขาใหญ่ การเคหะแห่งชาติ
@ ค่ายวิทย์ รร.มัธยมมีชัยพัฒนา
@ ค่ายวิทย์ รร. เทศบาลวัดดอนไก่ดี
@ ค่ายรักษ์น้ำ รร. วัดสุขไพรวัน
@ ค่ายวิทย์ รร.เบญจมราชรังสฤษดิ์
@ ค่ายเยาวชนสิ่งแวดล้อม เพื่อชีวิต
ห้องเรียนคนทำค่าย
ค่ายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกปฏิบัติการด้านธรรมชาติวิทยาเชิงสำรวจ โดยเน้นกระบวนการทางทางวิทยาศาสตร์ ฝึกให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวน ๕๐ คน สามารถนำไปพัฒนาโครงงานวิทยาศาสตร์ โดยผ่านการปฏิบัติจริง ซึ่งกิจกรรมได้นำเสนอแนวทางการสำรวจสิ่งมีชีวิตรอบตัว เช่น พันธุ์พืช แมลง สัตว์ขาปล้องในดิน สัตว์กลางคืน เห้ดราขนาดใหญ่ เป็นต้น สิ่งที่คาดหวังคือหลังปฏิบัติการนักเรียนสามารถตั้งคำถามจากผลการทดลอง นอกจากนี้ยังได้ฝึกให้นักเรียนได้นำเสนอผลงาน เช่น การเขียนรายงาน การนำเสนอโครงงานแบบปากเปล่าเป็นกลุ่ม เป็นต้น ค่ายนี้มีเวลา ๒ วัน โดยวันแรกเน้นการสำรวจ เขียนรายงาน และช่วงเช้าวันที่สอง เป็นการนำเสนอผลงาน

๒๖-๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๓ ณ ค่ายลูกเสือเจ็ดคต-โป่งก้อนเส้า อ. แก่งคอย จ. สระบุรี
ค่ายโครงงานวิทยาศาสตร์ โรงเรียนบ้านหมอพัฒนานุกูล
การดำเนินการค่ายเริ่มตั้งแต่แนะนำตัว ทำความรู้จักวิทยากร แบ่งกลุ่มเป็น ๖ กลุ่ม จากนั้นจับสลากเรื่องที่จะทำการสำรวจ ประกอบด้วย สำรวจพันธุ์พืช สำรวจสัตว์ขาปล้องในดิน สำรวจสัตว์ขาปล้องในระบบนิเวศน้ำ สำรวจสัตว์ขาปล้องในเรือยอดไม้ สำรวจแมลงในสนามหญ้า และสำรวจเห็ดและราขนาดใหญ่ จากนั้นก็นำอุปกรณ์ออกสำรวจ เมื่อถึงพื้นที่ทำการเลือกพื้นที่ วางแปลงตัวอย่าง เก็บตัวอย่าง นำตัวอย่างมาจำแนก บันทึกผล สรุปผล และเขียนรายงานในช่วงบ่าย ในช่วงเวลากลางคืนพี่วิทยากรนำศึกษาเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกสำรวจแมลงในฐานไฟล่อแมลง และกลุ่มที่สอง สำรวจสัตว์ในเวลากลางคืน สัตว์ที่พบที่น่าสนใจ เช่น ตุ๊กแกบ้าน หนอนผีเสื้อม้วนใบ หิ่งห้อย โดยเฉพาะหิ่งห้อยกระพริบแสงเป็นจำนวนมาก สวยงามท่ามกลางความมืด เสร็จกิจกรรมช่วงสำรวจก็ทำการสรุปกิจกรรม จากนั้นสวดมนต์ไหว้พระ และเข้านอน เช้าวันที่สองสำรวจสัตว์ที่หากินช่วงเช้า ผสมกับการเดินออกกำลังกายรอบ ๆค่ายลูกเสือ ได้ความรู้เรื่องกระสุนพระอินทร์ และโครงสร้างของป่า รวมทั้งไมยราบยักษ์ ซึ่งเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน จากนั้นกลับมารับประทานอาหารเช้า นำเสนอ สรุปกิจกรรม และ เดินทางกลับ
ภาพ : กิจกรรมสำรวจสัตว์ในระบบนิเวศน้ำขณะจำแนกและบันทึกผล
เห็ดและราขนาดใหญ่
สรุปและประเมินผลกิจกรรม
การจัดกิจกรรมได้เลือกกิจกรรม วิธีการ สถานที่ และคณะวิทยากรให้เหมาะสมกับช่วงเวลา จำนวนผู้เข้าค่าย และระดับการศึกษาของผู้เข้าร่วมกิจกรรม มุ่งเน้นกระบวนการกลุ่มในการทำงาน กระบวนการคิด วิธีการทำโครงงานวิทยาศาตร์ ตลอดจนการเขียนรายงาน และนำเสนอผลงาน พบว่านักเรียนให้ความสนใจในระดับดี และสามารถคัดเลือกนักเรียนที่มีความสนใจในกิจกรรมที่สุดจำนวน ๖ คน ซึ่งทางศูนย์ธรรมชาติศึกษาไทยจะได้พิจารณาคัดเลือกนักเรียน ๑ คน ใน ๖ คนนี้เพื่อให้ทุนสนับสนุนการศึกษาต่อไป ผลจากการสำรวจความคิดเห็นของนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมต่อ วิทยากรและรูปแบบ เนื้อหากิจกรรม จากคะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน พบว่า การให้ความรู้ของวิทยากรได้ ๙.๑๗ คะแนน รูปแบบกิจกรรมได้ ๙.๒ คะแนน ความประทับใจในวิทยากร ๙.๑๒ คะแนน สถานที่จัดกิจกรรมเหมาะสมกับรูปแบบและเนื้อหาค่ายได้ ๙.๑๔ คะเเนน ความรู้ใหม่ ๆ ที่ได้เพิ่มจากค่ายนี้ได้ ๙.๔๓ คะแนน สรุปผลการประเมินค่ายโครงงานวิทยาศาสตร์ ได้คะแนนรวมทั้งหมด ๔๖.๐๙คะแนน
ภาพ: บันทึกข้อมูล จำแนก และวาดภาพประกอบรายงานการศึกษาของกลุ่มสำรวจพันธุ์พืช
ภาพ : กำลังวาดภาพพันธุ์ไม้ประกอบรายงาน
ภาพ : หัวหน้าค่ายลูกเสือกล่าวให้คำแนะนำ
ภาพ : ตัวอย่างสรุปกิจกรรมของนักเรียนหนึ่งในหกลุ่มที่ร่วมกิจกรรม
ภาพ : โฉมหน้าวิทยากรและพี่เลี้ยงประจำค่ายโครงงานวิทยาศาสตร์
ภาพ :
กิจกรรมกลุ่ม ฝึกฝนการทำงานเป็นกลุ่ม และสร้างสัมพันธภาพในกลุ่ม
ร่วมแสดงความคิดเห็นกิจกรรมที่นี่
ภาพ :สำรวจแมลงและสัตว์ขาปล้องอาศัยบนเรือนยอดไม้
นกกะเต็นน้อย : รายงาน
๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๓

คณะวิทยากรค่าย
นาย ประสิทธิ์ วงษ์พรม (พี่ตุ๊)
นางสาวสมพร คำชมภู (พี่โก้)
นางสาวภานลิน กลิ่นวงศ์ ( พี่ว่อน)
นางสาวกฤษณา รักการ (พี่อ๊อด)
นางสาวพิจิตรา สะอาดเอี่ยม (พี่ปิ๊ก)
นางสาวสุมาลัย พงษ์ศิริ (พี่อ้อ)

ห้องเรียนธรรมชาติวิทยา
บันทึกการเดินทางย้อนหลัง
นกกระจอกใหญ่ งานแต่งงานและเหล่าแมลง
บันทึกนกจากเขาสอยดาว

บันทึกจากต้นหว้าในช่วงเวลาปิดเทอมร้อน
ขีดความสามารถรองรับด้านสัตว์ป่า
แนวทางวนเกษตรที่บ้านกุเตอร์โก

เห็ดกินได้ในป่าชุมชนดงใหญ่กับวันวาร
สำรวจและเรียนรู้โฮย่ากับผู้เชี่ยวชาญ
บันทึกจากประชุมเชิงปฏิบัติการเขาหินปูน
บการสำรวจของนักสำรวจธรรมชาติรุ่นเยาว
ประชุมสรุปผลงานโครงการอนุรักษ์แม่น้ำลำคลอง
-