สงวนลิขสิทธิ์
๒๕๕๑-๒๕๕๓ โดย ศูนย์ธรรมชาติศึกษาไทย แก้ไขล่าสุด พฤศจิกายน ๒๕๕๓
เรียนรู้ธรรมชาติเพื่อชีวิต
ห้องเรียนพันธุ์พืช
ธรรมชาตินานาสัตว์
ห้องเรียนนิเวศวิทยา
ห้องเรียนชุมชนท้องถิ่น
ห้องเรียนคนทำค่าย
หลังจากที่ได้รับการติดต่อจากพี่อึ่ง(นัชนพ วงษ์หาญ) เจ้าหน้าที่สื่อความหมายของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เพื่อร่วมเป็นวิทยากรค่ายครั้งนี้ ผมและอาสาสมัครของศูนย์ธรรมชาติศึกษาไทยก็ออกเดินทางกันตั้งแต่เช้าวันที ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ เมื่อมาถึงเขาใหญ่ตอนเจ็ดโมงเช้าเศษ จึงแวะศึกษาธรรมชาติกันที่จุดชมวิวเขาเขียว และผาเดียวดาย ก่อนจะลงมาเตรียมตัวรับน้อง ๆ ในเวลาประมาณ ๑๑ นาฬิกาเศษ ๆ เมื่อแนะนำวิทยากรเสร็จจึงแยกย้ายกันไปเตรียมฐานเรียนรู้กันในช่วงบ่ายที่สนามกอล์ฟเสร็จก่อนที่น้อง ๆ จะมาถึง
โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฏิ์ จ. ฉะเชิงเทรา
ณ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ๒๑-๒๓ พ.ย.๕๓ จ. นครราชสีมา
ค่ายส่งเสริมและพัฒนาความสามารถทางวิทยาศาสตร์
กิจกรรมดูนกในช่วงเช้า
เห็ดและราขนาดใหญ่
พี่ดัสกับการให้ความรู้ในฐานน้ำ ซึ่งเด็ก ๆ กำลังส่องดูสิ่งมีชีวิตในน้ำ
พี่สมคิดกำลังให้ความรู้น้อง ๆ เรื่องสัตว์ป่าในฐานสัตว์ป่า
ภาพ บรรยากาศกิจกรรมในเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ผากล้วยไม้-เหวสุวัต
เข้าห้องประชุมฟังการแนะนำวิทยากรและสถานที่ จากทางอุทยาน ฯ
นกกะเต็นน้อย : รายงาน
จักรพันธุ์ : ถ่ายภาพ
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
ความรู้เพิ่มเติมจากค่าย
@ สรุปความรู้จากฐานเรียนรู้
@ จระเข้น้ำจืด
@ อีเห็นข้างลาย
@ เก้งธรรมดา
@ กวางป่า
@ ป่าดงดิบแล้ง
@ ต้นสบ
@ นกแก็ก
@ ไลเคน
@ การทดแทนของสัมคมพืช
@ ป่าดงดิบเขา
@ ทุ่งหญ้าบนเขาใหญ่
@ ป่าดงดิบชื้น
มุมสาระความรู้ กล้วยไม้ เฟิน ไม้ยืนต้น ไม้เลื้อย หญ้า เห็ดราขนาดใหญ่ มอส ไลเคน สาหร่าย สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก นก แมลง แมงมุม แมงป่อง กิ้งกือ ไส้เดือน ปลา หอยแห่งท้องทะเล หอยน้ำจืด หอยทากบก ปู กุ้งและกั้ง ป่าไม้เมืองไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความหลากหลายทางชีวภาพ สภาวะโลกร้อน สึนามิ
กิจกรรมฐานเรียนรู้ในช่วงบ่ายประกอบด้วย ฐานดิน น้ำ ป่า สัตว์ป่า และระบบนิเวศ
ห้องเรียนธรรมชาติวิทยา
พี่ ๆ วิทยากรกำลังเตรียมฐานและทดสอบกิจกรรมก่อนน้อง ๆ จะมาถึง
ในเวลากลางคืนเป็นเวลาส่องสัตว์และ ดูดาว ซึ่งกิจกรรมดูดาวนำโดยคุณครู
ก่อนจะเขานอนพักผ่อน ตื่นเช้าในวันที่ ๒๒ เป็นกิจกรรมดูนก นับเป็นเช้าที่อากาศดี เย็นสบาย แสงดีมาก นกที่พบเช่น นกเขาใหญ่ นกแอ่นพง นกแซงแซวสีเทา นกปรอดเหลืองหัวจุก นกยอดหญ้าสีดำ นกกระแตแต้แว๊ด นกนางแอ่นบ้าน นกตะขาบทุ่ง นกกะรางหัวหงอก นกขมิ้นท้ายทอยดำ นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ นกจาบคาหัวสีส้ม เป็นต้น
เมื่อกิจกรรมดูนกจบลงก็รับประทานอาหารเช้า จากนั้นเตรียมตัวไปเดินป่าศึกษาธรรมชาติในเส้น ทางผากล้วยไม้-น้ำตกเหวสุวัต มีระยะทางประมาณ ๓ กิโลเมตรเศษ ระหว่างเส้นทางมีกิจกรรมต้นไม้เพื่อรัก และกวางน้อย ในเส้นทางนี้มีกลุ่มของพี่ตุ๊โชคดีได้พบจระเข้น้ำจืด และกลุ่มของพี่อ๋องพบอีเห็นข้างลาย เมื่อมาถึงน้ำตกเหวสุวัต น้อง ๆ ก็วาดรูปสะท้อนความประทับใจในการเดินป่า หลายคนฉายแววความเป็นศิลปิน ท่ามกลางธรรมชาติที่สวยงามเป็นแรงบันดาลใจได้อย่างดี
ในช่วงเย็นมีการแสดงละครของน้อง ๆ และตื่นเช้ามามีกิจกรรมดูนกอีกครั้ง ก่อนที่จะสรุปกิจกรรมและปิดค่ายเดินทางกลับ ค่ายนี้น้องสะท้อนถึงความสนุกและได้ความรู้ ส่วนพี่วิทยากรก็ประทับใจน้อง ๆ ที่มีความสนใจไผ่รู้อย่างมาก รวมทั้งอาจารย์ก็มีความใส่ใจดูแลน้อง ๆ ให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด ทำให้กิจกรรมดำเนินไปด้วยความอบอุ่นครับ ขอบคุณอาจารย์โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์และพี่ ๆ จากเขาใหญ่อีกครั้งครับ
ภาพบนซ้าย : พี่พลอยกำลัง อธิบายเรื่อง การสำรวจ สัตว์ ไม่มีกระดูกสัน หลังในดิน
บนขวา : พี่ตุ๊อธิบายใน ฐานป่าไม้
ภาพขวา : พี่ตัสกับพี่ดัส ในฐานน้ำ
ภาพสัตว์ป่าจากบนลงล่าง : พญากระรอกดำใหญ่ เก้งธรรมดา อีเห็นข้างลาย จระเข้น้ำจืด
จระเข้น้ำจืดพบบริเวณลำตะคอง น้ำตกผากล้วยไม้