สงวนลิขสิทธิ์ ๒๕๕๑-๒๕๖๐ โดย ศูนย์ธรรมชาติศึกษาประเทศไทย แก้ไขล่าสุด มกราคม ๒๕๖๐

@ บันทึกกิจกรรม
@ บันทึกธรรมชาติและการเดินทาง
@ ห้องสมุดธรรมชาติวิทยา
@ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาต
Education Activities 2017

@ Wildlife Education #1
@ Young Naturalist
@ Amateur Nature Explorer
@ Nature Interpretation for Trainer
@ IPM in permaculture
@ Science Talent Youth Camp

ห้องเรียนธรรมชาติวิทยา
หน้าหลัก เกี่ยวกับเรา บทความ เอกสารเผยแพรผลงานของเรา โครงการวิจัย อาสาสมัคร งานบริการ
เรียนรู้ธรรมชาติเพื่อชีวิต
หน่วยปฏิบัติการธรรมชาติวิทยา
* หน่วยวิจัยป่าชุมชนดงใหญ่
* หน่วยปฏิบัติการภาคตะวันออก
* หน่วยปฏิบัติการภาคใต้
* หน่วยปฏิบัติการถ้ำและเขาหินปูน
* หน่วยปฏิบัติการภาคเหนือ
ห้องเรียนพันธุ์พืช
ธรรมชาตินานาสัตว์
ห้องเรียนนิเวศวิทยา
ห้องเรียนชุมชนท้องถิ่น
เริ่มเรียนรู้เปลือกหอย
หอยเป็นสัตว์ที่มีความหลากหลายสูงมาก จัดอยู่ในไฟลัมมอลลัสกา ซึ่งไม่ง่ายเลยที่จะจดจำชื่อและลักษณะของหอยได้ทั้งหมด แต่เรื่องยากจะเป็นง่ายไม่ได้ถ้าไม่เริ่มต้นศึกษา วิธีที่ง่ายที่สุดสำหรับคนธรรมดาอย่างผมจะทำได้คือการเก็บตัวอย่างเปลือกหอยมาเทียบกับหนังสือภาพหอย หรือคู่มือสะสมเปลือกหอย ซึ่งพอจะทำให้ได้ทราบชื่อหอยได้บางชนิด แม้จะน้อยนิดแต่ก็ดีกว่าไม่รู้อะไรเลย จากนั้นทราบชื่อแล้วค่อยนำชื่อวิทยาศาสตร์ของมันไปค้นหาข้อมูลด้านอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น นิเวศวิทยา ชีววิทยา อนุกรมวิธาน เป็นต้น จากที่ผมเดินตามชายหาดในเวลาไม่นานก็ตั้งข้อสังเกตได้หลายประการ มีคำถามเช่น หอยที่มาติดที่หาดมีชนิดและปริมาณต่างกัน หอยขึ้นมาเกยหาดได้อย่างไร เพราะเหตุใด หอยแต่ละชนิดมีแหล่งอาศัยต่างกัน เป็นต้น เปลือกหอยบางชนิดแทบหาไม่ได้บนชายหาด เพราะถูกเก็บไปทำของที่ระลึก ขายอยู่ในร้านค้าตามแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งบางครั้งก็หาได้ง่ายกว่า สิ่งที่ร้ายกาจไปกว่านั้นคือหอยถูกเก็บหาจากแหล่งอาศัยโดยตรงทั้งที่ยังมีชีวิตเพื่อนำเปลือกไปขาย เหตุนี้เองทำให้มันสูญพันธุ์ได้ในธรรมชาติ ส่วนที่ถูกเก็บเปลือกจากชายหาดนั้นคงไม่กระทบต่อความอยู่รอดของหอยมากนัก ทั้งนี้การสะสมเปลือกหอยนั้นก็ต้องคำนึงถึงประเด็นนี้เช่นกัน เพื่อไม่ส่งเสริมให้มีการคุกคามหอยหายาก และอีกประเด็นคือ การสะสมเปลือกหอยเพื่อการศึกษาไม่คำนึงถึงความงามและขนาด หากแต่คำนึงถึงความรู้ที่จะได้จากหอยมากกว่า เช่น หอยที่ไม่สวย ไม่สมบูรณ์ มีเพรียงเกาะติด มันสะท้อนชีวิตความเป็ยอยู่ของหอยและถิ่นอาศัยของมัน เราไม่ได้สะสมหอยเพราะความงาม ยอมจ่ายเงินซื้อมันมาแพง ๆ แต่สุดท้ายก็เท่ากับส่งเสริมให้มันสูญพันธุ์เร็วขึ้น แล้วจะมีความหมายอะไรกันครับ

Molluscs and Socities
The Malacological Society of London
Malacological Society of Australia
The American Malacological Society

ห้องเรียนคนทำค่าย
วันสุดท้ายแห่งปีที่ชายทะเลบางกะไชย
ขณะที่รถแล่นไปบนถนนเลียบชายหาด เสียงของพี่น้องสองคนหลานอาที่ร่วมเดินทางเล่าถึงอดีต และความทรงจำในวัยเด็กถึงการเปลี่ยนแปลงของสถานที่ เมื่อราวยี่สิบปีที่แล้วชายทะเลเป็นที่จอดเรือของคนในชุมชน และบนฝั่งเป็นคอกหมู แต่ความเปลี่ยนแปลงในวันนี้กลายเป็นรีสอร์ท สปา นั่นเพราะอิทธิพลของการท่องเที่ยว ไม่มีคอกหมู วิถีชาวบ้านอันงดงาม สงบเรียบง่าย กลายเป็นสิ่งดึงดูดให้มีกิจกรรมท่องเที่ยว มากขึ้น สนทนาถึงความเปลี่ยนแปลงได้ไม่นานก็มาถึงบ้านของป้า บ้านสร้างตามแบบบ้านชายทะเล ยกใต้ถุนสูงให้เข้ากับยามน้ำขึ้นลง แต่ปัจจุบันถูกยกให้สูงขึ้นและถมเพิ่ม หลังบ้านมีสะพานเล็กๆ ยื่นลงไปในทะเล เราทักทายป้า ถามไถ่สารทุกข์สุกดิบ จากนั้นผมทิ้งวงสนทนาลงไปเดินเล่น ชายหาดตามลำพัง
บ่อยครั้งที่ผมเดินเล่นชายหาด เปลือกหอยที่เรียงรายบนพื้นทราย ทำให้ผมเกิดความอยากรู้ว่ามันคือหอยอะไรบ้าง และอยากจะเป็นนักศึกษาหอยสมัครเล่น ขึ้นมาบ้างแล้ว เริ่มจากการถ่ายภาพและเก็บเปลือกหอยเล็กๆ มาเรียนรู้เทียบเคียงกับ หนังสือทุกครั้ง
เปลือกหอยบางชนิดที่พบบริเวณชายหาดบางกะไชย จ. จันทบุรี

Architectonica picta
Architectonica perdix
Bursa rana
Spondylus croceus
Paphia undulata
Murex altispira
Semicassis bisulcatum
Turritella terebra
Malleus albus
Strombus vittatus apicatus
Cycladicama luciniformis
Trisidos sp.
Vepricardium asiaticum
Pugilina cochlidium
เห็ดและราขนาดใหญ่
บันทึกการเดินทางย้อนหลัง
นกกระจอกใหญ่ งานแต่งงานและเหล่าแมลง
บันทึกนกจากเขาสอยดาว

บันทึกจากต้นหว้าในช่วงเวลาปิดเทอมร้อน
ขีดความสามารถรองรับด้านสัตว์ป่า
แนวทางวนเกษตรที่บ้านกุเตอร์โก

เห็ดกินได้ในป่าชุมชนดงใหญ่กับวันวาร
บันทึกจากผ้าป่าสามัคคีที่บ้านกุเตอร์โก
จากผ้าป่าสามัคคีสู่งานวิจัยในบ้านกุเตอร์โก
สำรวจและเรียนรู้โฮย่ากับผู้เชี่ยวชาญ
บันทึกจากประชุมเชิงปฏิบัติการเขาหินปูน
การสำรวจของนักสำรวจธรรมชาติรุ่นเยาว
ประชุมสรุปผลงานโครงการอนุรักษ์แม่น้ำลำคลอง
-